คำประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย

 

เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุดจากกระบวนการ และตระหนักถึงความสำคัญของการให้ความร่วมมือกับผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สภากายภาพบำบัด สภาเทคนิคการแพทย์ และคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ จึงได้ร่วมกันออกประกาศรับรองสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ไว้ดังต่อไปนี้

๑. ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการรักษาพยาบาลและการดูแลด้านสุขภาพตามมาตรฐานวิชาชีพจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

๒. ผู้ป่วยที่ขอรับการรักษาพยาบาลมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลที่เป็นจริงและเพียงพอเกี่ยวกับการเจ็บป่วย การตรวจ การรักษา ผลดีและผลเสียจากการตรวจ การรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ด้วยภาษาที่ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอม

ให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน อันจำเป็นเร่งด่วนและเป็นอันตรายต่อชีวิต

๓. ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่

๔. ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบชื่อ สกุล และวิชาชีพของผู้ให้การรักษาพยาบาลแก่ตน

๕. ผู้ป่วยมีสิทธิขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นที่มิได้เป็นผู้ให้การรักษาพยาบาลแก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพหรือเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสิทธิการรักษาของผู้ป่วยที่มีอยู่

๖. ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับการปกปิดข้อมูลของตนเอง เว้นแต่ผู้ป่วยจะให้ความยินยอมหรือเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อประโยชน์โดยตรงของผู้ป่วยหรือตามกฎหมาย

๗. ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเข้าร่วมหรือถอนตัวจากการเป็นผู้เข้าร่วมหรือผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ

๘. ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอตามขั้นตอนของสถานพยาบาลนั้น ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิหรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของผู้อื่น

๙. บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้

 

 * ข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย *

๑. สอบถามเพื่อทำความเข้าใจข้อมูลและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนลงนาม ให้ความยินยอม หรือไม่ยินยอมรับการตรวจวินิจฉัยหรือการรักษาพยาบาล

๒. ให้ข้อมูลด้านสุขภาพและข้อเท็จจริงต่างๆ ทางการแพทย์ที่เป็นจริงและ ครบถ้วนแก่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพในกระบวนการรักษาพยาบาล

๓. ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของผู้ประกอบวิชาชีพด้าน สุขภาพเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ให้แจ้งผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพทราบ

๔. ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสถานพยาบาล

๕. ปฏิบัติต่อผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ป่วยรายอื่นรวมทั้งผู้ที่มาเยี่ยมเยียน ด้วยความสุภาพให้เกียรติและไม่กระทำสิ่งที่รบกวนผู้อื่น

๖. แจ้งสิทธิการรักษาพยาบาลพร้อมหลักฐานที่ตนมีให้เจ้าหน้าที่ของสถาน พยาบาลที่เกี่ยวข้องทราบ

๗. ผู้ป่วยพึงรับทราบข้อเท็จจริงทางการแพทย์ ดังต่อไปนี้

๗.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานและ จริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายกำ หนดและมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการถูกกล่าวหาโดยไม่เป็นธรรม

๗.๒ การแพทย์ในที่นี้หมายถึง การแพทย์แผนปัจจุบันซึ่งได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ โดยองค์ความรู้ในขณะนั้นว่ามีประโยชน์มากกว่าโทษสำหรับผู้ป่วย

๗.๓ การแพทย์ไม่สามารถให้การวินิจฉัย ป้องกัน หรือรักษาให้หายได้ทุกโรคหรือทุกสภาวะ

๗.๔ การรักษาพยาบาลทุกชนิดมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลอันไม่พึงประสงค์ได้ นอกจากนี้เหตุสุดวิสัยอาจเกิดขึ้นได้แม้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพจะใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอตามภาวะวิสัยและพฤติการณ์ในการรักษาพยาบาลนั้นๆ แล้ว

๗.๕ การตรวจเพื่อการคัดกรอง วินิจฉัย และติดตามการรักษาโรค อาจให้ผลที่คลาดเคลื่อนได้ด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยีที่ใช้และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน

๗.๖ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพมีสิทธิใช้ดุลพินิจในการเลือกกระบวนการรักษาพยาบาลตามหลักวิชาการทางการแพทย์ตามความสามารถและข้อจำกัด ตามภาวะวิสัยและพฤติการณ์ที่มีอยู่รวมทั้งการปรึกษาหรือส่งต่อโดยคำนึงถึงสิทธิและประโยชน์โดยรวมของผู้ป่วย

๗.๗ เพื่อประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอาจให้ คำแนะนำ หรือส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาตามความเหมาะสม ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องไม่อยู่ในสภาวะฉุกเฉินอันจำเป็นเร่งด่วนและเป็นอันตรายต่อชีวิต

๗.๘ การปกปิดข้อมูลด้านสุขภาพ และข้อเท็จจริงต่างๆ ทางการแพทย์ของผู้ป่วยต่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอาจส่งผลเสียต่อกระบวนการรักษาพยาบาล

๗.๙ ห้องฉุกเฉินของสถานพยาบาล ใช้สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินอันจำเป็นเร่งด่วนและเป็นอันตรายต่อชีวิต

 

การใช้กัญชาทางการแพทย์แผนไทย

สาระน่ารู้ “การใช้กัญชาทางการแพทย์แผนไทย”

#กัญชาทางการแพทย์

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
กลุ่มงานการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือก
โรงพยาบาลมหาสารคาม
โทรศัพท์ : 095-9233653 ,086-4548818
,095-1914973

 

 

นอนกรน !!!อย่านอนใจ

โรคนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ (ObstructiveSleep Apnea, OSA)

เป็นโรคที่เกิดจากการตีบแคบของทางเดินหายใจขณะหลับ เกิดภาวะขาดออกซิเจนเป็นช่วงๆ และการหยุดหายใจจะสิ้นสุด โดยการตื่นตัว ของสมองเป็นช่วงสั้นๆทำให้สะดุ้งเฮือก ขณะหลับ (arousal) และการนอนหลับขาดตอนเป็นช่วงๆ มีผลต่อการ ทำงานของสมอง และเกิดอาการง่วงตอนกลางวัน โรคนี้สามารถเป็นได้ในคนทุกวัย ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ ในเด็กมักเกิดจากต่อมทอนซิลโตหรือปัญหาโครงสร้างใบหน้า หรือเด็กอ้วน ส่วนในผู้ใหญ่พบในเพศชายมากกว่า ส่วนเพศหญิง พบมากเมื่อเข้าสู่วัยทองและพบมากขึ้นเมื่ออายุมากกว่า 40 ปี หรือมีภาวะอ้วน (BMI มากกว่า 25) ในทั้งสองเพศ

สัญญาณเตือน ว่าคุณอาจมีโรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ

  • นอนกรนเสียงดังเป็นประจำ
  • ญาติสังเกตเห็น ขณะนอนหลับมีหยุดหายใจเป็นพักๆ
  • ง่วงนอนกลางวันมาก บางครั้งเผลอหลับไปในสถานการณ์ ที่ไม่สมควร เช่น ขณะขับรถ ขณะอยู่ในห้องประชุม
  • ไม่มีสมาธิในการทำงาน ขี้ลืม หงุดหงิดง่าย
  • ตื่นมาคอแห้ง เจ็บคอ เนื่องจากนอนอ้าปากหายใจ มีปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้
  • ความต้องการทางเพศลดลง
  • ปัสสาวะรดที่นอนในเด็กโต หรือปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนในผู้ใหญ่

 

โรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ มีผลต่อร่างกายอย่างไร

  • ภาวะง่วงนอนผิดปกติ เช่น ขณะทำงานหรือหลับในขณะขับรถ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขณะทำงานที่ต้องใช้สมาธิหรืออุบัติเหตุบนท้องถนนได้
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน โรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมองแตก หรืออุดตัน โรคซึมเศร้า และโรคอื่นๆ ตามมาได้

 

ทราบได้อย่างไร? ว่าเป็นโรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ

หากคุณมีอาการดังกล่าวข้างต้นหรืออายุมากกว่า 40 ปี หรือมีภาวะอ้วน (BMI >25) ควรไปพบแพทย์โสต ศอ นาสิก หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการนอนกรน เพื่อรับการตรวจ ซักถามอาการต่างๆ ที่กล่าวไปข้างต้น และอาจพิจารณาส่งตรวจ การนอนหลับ (Polysomnography, PSG) เพื่อประเมินว่าหากมี โรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับจริง จะมีความรุนแรงของโรค อยู่ในระดับใด (น้อย ปานกลาง รุนแรง) เพื่อหาแนวทางการรักษา ที่ถูกต้องเหมาะสมแก่ผู้ป่วยต่อไป

การรักษาเฉพาะโรค

  • การใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (Positive Airway Pressure: PAP) ปัจจุบันถือว่าเป็นการรักษาหลัก และเป็น การรักษาที่ได้ผลดีมากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความรุนแรง ปานกลาง และรุนแรงมาก
  • การใส่อุปกรณ์ทางทันตกรรม เหมาะสำหรับกลุ่มที่รุนแรงน้อย หรือรุนแรงปานกลาง
  • การผ่าตัดแก้ไขทางเดินหายใจในส่วนต่างๆที่มีภาวะตีบแคบ เช่น การผ่าตัดต่อมทอนซิล (โดยเฉพาะในเด็ก) การผ่าตัดแก้ไข ผนังกั้นจมูกคด/เพดานอ่อน/กระดูกกราม โดยผลของการ ผ่าตัดอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
  • การจี้ด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (Radiofrequency ablation) เพื่อลดความบวมของผนังจมูก หรือเพิ่มความแข็งแรงของ เพดานอ่อนและให้เพดานอ่อนหดตัว หรือลดขนาดของโคนลิ้น ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้น

 

 

รับคำปรึกษา และรักษาได้ที่ คลินิกตรวจการนอนหลับ โรงพยาบาลมหาสารคาม

 

 

บริจาคเงินให้โรงพยาบาล ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า!

 

 

 

 

วิธีการใช้ ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์  E-Donation  คลิ๊ก

E-Donation “ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์” สายบุญควรรู้ ถ้าคิดจะลดหย่อนภาษีปีหน้า

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : กระทรวงการคลัง