หลักเกณฑ์การประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษมาและเพื่อขอรับเงินประจำตำแหน่งระดับชำนาญการ

1.-หนังสือแจ้งจังหวัด-ว-246-ลว-3-ก.พ.-63

งานผลิตยาสมุนไพร โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

งานผลิตยาสมุนไพร โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้จัดทำ : นางสาวปภาวรินท์ จินโจ
ตรวจสอบ : นายปรานญ์ปรินทร์ กิจจาเวชชานนท์

(ข้อมูลแม่บทสถานที่ผลิตยา)
1.ข้อมูลทั่วไป
1.1 ข้อมูลสรุปของงานผลิตยาสมุนไพรโรงพยาบาลมหาสารคามจังหวัดมหาสารคาม และข้อมูลที่
เกี่ยวข้องซึ่งทำให้มีความเข้าใจถึงกระบวนการผลิต
สถาบันการแพทย์แผนไทยโดยแพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็น
ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทยได้กรุณาให้งบประมาณแก่โรงพยาบาลมหาสารคาม มาดำเนินงาน
จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแพทย์แผนไทย เป็นเงิน 500,000 บาท และตั้งชื่อให้ว่า “ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแพทย์
แผนไทยกามินทร์อาศรม”

เปิดดำเนินงานเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2545 โดยการนำของผอ.ชาย ธีระสุต ภายใต้การดูแลของกลุ่ม
งานเวชกรรมสังคม เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างงานทั้งหมดในโรงพยาบาล
มหาสารคาม งานแพทย์แผนไทยจึงได้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเป็นกลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือกให้สอดคล้องกับกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ซึ่งนพ.ไพบูลย์ อัศวธนบดี
หัวหน้ากลุ่มภารกิจปฐมภูมิและทุติยภูมิเป็นผู้ดูแลและมุ่งมั่นพัฒนางานนี้เรื่อยมา เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ได้
เกิดงานเภสัชกรรมไทยขึ้นเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยมีเป้าหมายการผลิตยาใช้ในโรงพยาบาลและเครือข่าย
ตลอดจนโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม การดำเนินงานในระยะแรกเพื่อตอบสนองนโยบายคล้อย
ตามกระแสเท่านั้น แต่เมื่อได้ดำเนินการระยะหนึ่ง พบว่า การแพทย์แผนไทยเป็นวัฒนธรรมในการดูแลสุขภาพ
แขนงหนึ่งที่ทรงคุณค่า และมากด้วยกลวิธีที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทยและสามารถใช้ศาสตร์นี้ตอบ
คำถามยอดฮิตของค าว่า “องค์รวม” ได้ดีที่สุด

โรงพยาบาลมหาสารคามมีจำนวนการผลิตยาสมุนไพรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งผู้อำนวยการ
โรงพยาบาลมีแนวคิดที่จะพัฒนาและให้ความสำคัญในการผลิตยาสมุนไพร โดยมุ่งส่งเสริมและพัฒนานโยบาย
คุณภาพให้โรงงานผลิตยาสมุนไพรของโรงพยาบาลได้มาตรฐาน GMP WHO เพื่อเป็นโรงงานผลิตยาสมุนไพรที่
ได้คุณภาพ มาตรฐาน และมีกำลังการผลิตที่สามารถตอบโจทย์ด้านปริมาณและรายการยาสมุนไพรที่สามารถ
ตอบสนองความต้องการของหน่วยบริการสุขภาพภายในจังหวัดมหาสารคามได้อย่างเพียงพอ และในอนาคต
โรงพยาบาลวางแผนที่จะพัฒนาเพิ่มกำลังการผลิตยาสมุนไพรเพื่อสนับสนุนไปยังจังหวัดอื่นๆใกล้เคียงมุ่งเป็น
หนึ่งกำลังการผลิตที่สำคัญในศูนย์ผลิตยาสมุนไพรของเขตบริการสุขภาพที่ 7

 

สารบัญ-smp-จัมปาศรี
Site-master-file-จัมปาศรี
ภาคผนวก-site-master-file-จัมปาศรี

การประเมินผลระบบการป้องกันอาการข้างเคียงจากยา Allopurinol ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

อดิศักดิ์ ถมอุดทา ภ.บ.
ปริญา ถมอุดทา ภ.บ. (บริบาลเภสัชกรรม) (เกียรตินิยมอันดับ 1), ภ.ม. (เภสัชกรรมคลินิก)
กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

767-Article-Text-760-1-10-20171130_allopurinol

เถาเอ็นอ่อนสมุนไพรสู่การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

เถาเอ็นอ่อนสมุนไพรสู่การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

อดิศักดิ์ ถมอุดทา / ปริญา ถมอุดทา
โรงพยาบาลมหาสารคาม ต าบลตลาด อ าเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000

 

เถาเอ็นอ่อน (Cryptolepis buchanani Roem. & Schult) มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยถูกนำมาใช้อย่าง
แพร่หลายในการแพทย์พื้นบ้านในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ เพื่อรักษาอาการอักเสบของโรคระบบ
กระดูกและกล้ามเนื้อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นถึงข้อมูลวิชาการในประเด็นการพัฒนา
สมุนไพรเถาเอ็นอ่อนแบบครบวงจร โดยทำการสืบค้นจากฐานข้อมูลวิชาการในหัวข้อ พฤกษศาสตร์
พื้นบ้าน พฤกษเคมี การศึกษาทางด้านพรีคลินิกและการทดลองทางคลินิก ผลการศึกษาด้านพรีคลินิก
พบว่าสารสกัดเถาเอ็นอ่อนสามารถลดการบิดตัวโดยใช้กรดอเซติกเหนี่ยวนำในหนูทดลองอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ นอกจากนั้นยังสามารถยับยั้งการอักเสบในโมเดลการใช้สารเอทิล ฟีนิลโพรพิโอเนตเหนี่ยวนำการ
เกิดหูอักเสบและการใช้สารคาราจีแนนเหนี่ยวนำการเกิดอุ้งเท้าอักเสบในหนูทดลอง การศึกษาการ
เพาะเลี้ยงเซลล์กระดูกอ่อนในอาหารเลี้ยงเชื้อพบว่าสารสกัดเถาเอ็นอ่อนสามารถลดการปลดปล่อยสาร
ซัลเฟตไกลโคซามิโนไกลแคนและไฮยาโรแนนในอาหารเลี้ยงเชื้อและมีความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์
เมทัลโลโปรติเอส-2 โดยไม่มีผลกระทบต่อการอยู่รอดของเซลล์เพาะเลี้ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
การศึกษาทางคลินิกจากยาน้ำมันเถาเอ็นอ่อนในการรักษาข้อเข่าเสื่อมเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ในผู้ป่วยที่
มีภาวะโรคในระดับรุนแรงน้อยถึงปานกลาง พบว่ามีประสิทธิภาพไม่แตกต่างจาก 1 เปอร์เซ็นต์ อินโดเมทา
ซิน สรุปได้ว่าสารสกัดเถาเอ็นอ่อนมีฤทธิ์ลดปวด ต้านการอักเสบและคอนโดรโพรเทคทีฟ ยาน้ำมันเถา
เอ็นอ่อนมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างอินโดเมทาซิน โซลูชั่น ในการรักษาข้อเข่าเสื่อม

Public_ThaoenOn30_01_64

การศึกษาทางด้านพฤกษเคมีจากสารสกัดเหง้าว่านเอ็นเหลือง

การศึกษาทางด้านพฤกษเคมีจากสารสกัดเหง้าว่านเอ็นเหลือง

เภสัชกรอดิศักดิ์ ถมอุดทา
เภสัชกรหญิงปริญา ถมอุดทา
โรงพยาบาลมหาสารคาม

 

บทนำและความสำคัญ
ว่านเอ็นเหลือง (Curcuma sp.) ถูกประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ.2556 ให้เป็น
ตัวยาตรงในตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณกลุ่มบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ข้อมูลทางด้าน
พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน (Ethnopharmacology) ใช้หัวว่านเป็นยารักษาโรคหลายขนาน แก้อัมพาต เหน็บ
ชา แก้ปวดเมื่อยตามข้อต่างๆ ในร่างกาย แก้มือตาย ตีนตาย รักษาโรคเหน็บชา โรคอันเกี่ยวกับเส้นเอ็นทั้ง
ปวง เส้นตรงที่ใดเคล็ด ช้ำบวม อัมพาต หรือไตพิการ เบาหวาน รักษาได้ระดับหนึ่ง โดยกินว่านนี้ด้วยวิธีต้ม
กินเป็นประจำใช้หัวว่านในปริมาณ 3 กิโลกรัม ต้มกับน้ำ 3 ส่วน แล้วเคี่ยวให้เหลือน้ำ 1 ส่วน กินก่อน
อาหาร 3 เวลา ข้อมูลทางลักษณะทางพฤกษศาสตร์หัวเป็นแง่งขนาดกลาง แตกเป็นแผง ทั้งสองด้านของ
ล าต้น และใต้ลำต้นแง่งแตกชิดติดกัน และเบียดกันแน่น เนื้อในของแง่งสีเหลือง มีกลิ่นหอมก้านใบสีเขียว
ด้านในเป็นร่องแคบและลึก ด้านนอกกลมนูน กาบใบสีเขียว โอบหุ้มกันเป็นลำ ใบ รูปรียาว ปลายใบ
แหลมเป็นติ่ง โคนใบทู่ เส้นกลางใบทางด้านบนเป็นร่องสีเขียวอ่อน ด้านล่างนูนเป็นสัน สีเขียวเช่นเดียวกับ
แผ่นใบ จากการที่ว่านเอ็นเหลืองได้ถูกประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขในปี 2556 ให้เป็นตัวยาตรงใน
ตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณกลุ่มบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่
จะต้องทำการศึกษาทางด้านพฤกษเคมี (phytochemistry) และการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ
(Bioassays) เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนทางด้านการประยุกต์ใช้สมุนไพรชนิดนี้สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์
จากสมุนไพรชนิดนี้เพื่อเพิ่มมูลค่า สร้างเศรษฐกิจฐานราก เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เป็นไปตามเจต
จานงมุ่งหมายของรัฐบาลที่ต้องการให้สมุนไพรไทยเป็นที่ นิยม ประชาชนรู้จัก เชื่อมั่น ชอบและใช้
การแพทย์แผนไทยและสมุนไพร

 

Download อ่านข้อมูลฉบับเต็ม

ReportVEL_01_04_61

การพัฒนาตำรับน้ำยาบ้วนปากสุมนไพรจากสารสกัดใบฝรั่งเพื่อใช้ในทางทันตกรรม

รายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง
การพัฒนาตำรับน้ำยาบ้วนปากสุมนไพรจากสารสกัดใบฝรั่งเพื่อใช้ในทางทันตกรรม

ภก. อดิศักดิ์ ถมอุดทา
ภญ.ปริญา ถมอุดทา
โรงพยาบาลมหาสารคาม

 

ที่มาและความส าคัญ
โรคในช่องปากและฟันเป็นโรคที่พบได้บ่อย เช่น โรคฟันผุ โรคปริทันต์อักเสบ โรคแผลร้อนใน ซึ่งโรค
เหล่านี้มักมีอาการปวด บวม เลือดออก หรือมีอาการปากเหม็น โดยสาเหตุของการเกิดโรคในช่องปากส่วน
ใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ที่มาจากการไม่ดูแลรักษาความสะอาดภายในช่องปาก และการรักษาโรค
เหล่านี้มีความจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อดื้อยาได้ รวมไปถึงยังอาจเกิด
ผลข้างเคียงจากยาต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกายได้ ซึ่งการดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากเป็นหนึ่งในวิธีการ
ป้องกันการเกิดโรคเหล่านี้

โดยผลิตภัณฑ์รักษาความสะอาดในช่องปาก เช่น ยาสีฟัน น้้ำยาบ้วนปาก เป็นอีก
ทางเลือกที่มักใช้สารเคมีเป็นองค์ประกอบ ซึ่งทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อผู้ใช้ได้ เช่น น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสม
ของ chlorhexidine ที่ทำให้สีของฟันเปลี่ยนแปลง และสามารถเกิดการดื้อได้

ดังนั้น ทางผู้วิจัยจึงได้ท าการศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์รักษาความสะอาดในช่องปากจากสมุนไพรขึ้นมา
เพื่อทดแทนการใช้สารเคมี เนื่องจากสารที่มาจากธรรมชาตินั้นมีอัตราการดื้อยาได้ยากกว่าสารเคมี รวมไปถึงมี
ความปลอดภัยมากกว่าอีกด้วย [7] โดยมุ่งหวังว่าผลิตภัณฑ์น้ ายาบ้วนปากสมุนไพรที่ได้พัฒนาขึ้นจะมีฤทธิ์ยับยั้ง
เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคในช่องปากได้

 

Download อ่านข้อมูลฉบับเต็ม

รายงานน้ำยาบ้วนปากจากสารสกัดใบฝรั่ง-6-8-2019

การพัฒนาระบบบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน แบบเบ็ดเสร็จ

ชื่อผลงาน Best practice Service plan: การพัฒนาระบบบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน
แบบเบ็ดเสร็จ(ONE STOP SERVICES) เพื่อเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงบริการการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ผสมผสาน โรงพยาบาลมหาสารคาม

เภสัชกรอดิศักดิ์ ถมอุดทา

กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลมหาสารคาม

 

สืบเนื่องจาก กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการบูรณาการการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ผสมผสานเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพของประเทศ (SERVICE PLAN) เพื่อให้ประชาชนชาวไทย
เข้าถึงบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือกโรงพยาบาลมหาสารคาม ได้เล็งเห็นความสำคัญของนโยบายดังกล่าวดังกล่าว จึงได้มีการ
ดำเนินการพัฒนาระบบบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานแบบเบ็ดเสร็จ (ONE STOP
SERVICE) ข้ึนในปีงบประมาณ 2557 เพื่อเพิ่มศกัยภาพการเขา้ถึงบริการแพทยแ์ผนไทยและการแพทย์
ผสมผสานของประชาชนในพ้ืนที่รับผิดชอบ อันจะทำ ใหเกิดการบริการที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย สะดวก
รวดเร็วได้รับความนิยมในการเข้าใช้บริการจากประชาชนเพิ่มข้ึนอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาระบบบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานแบบเบ็ดเสร็จ (ONE
STOP SERVICE) ในการจัดคลินิกบริการครบวงจรที่แผนกผู้ป่วยนอก (OPD คู่ขนาน) ด้วยศาสตร์การแพทย์
แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานรวมถึงการจัดบริการคลินิกเฉพาะโรค ในโรค ไมเกรน ข้อเข่าเสื่อม อัม
พฤกษ์/อัมพาต และภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนต้น

Download อ่านข้อมูลฉบับเต็ม

บทคัดย่อserviceplanTTMmskh

 

การวิจัยและพัฒนาตำรับอิมัลชันเจลจากสารสกัดพริกและไพล

การวิจัยและพัฒนาตำรับอิมัลชันเจลจากสารสกัดพริกและไพล

ภก.อดิศักดิ์ ถมอุดทา
กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
โรงพยาบาลมหาสารคาม

 

บทนำ

อิมัลชันเจลเป็นรูปแบบยากึ่งแข็งสำหรับใช้เฉพาะที่ผิวหนัง ประกอบด้วยครีมหรืออิมัลชันกระจายตัว อยู่ในเจลชนิดชอบน้ำ มีลักษณะกึ่งแข็ง โปร่งแสง และโปร่งใส ตำรับอิมัลชันเจลมีความคงตัวดีกว่ายาครีม เพราะมีเจลเป็นส่วนผสมช่วยเพิ่มความคงตัว ยาเจลพริก เป็นยาที่มีสารสกัดจากผลพริกแห้ง ( Capsicum annuum L., Capsicum frutescens L.) โดยควบคุมความแรงของสาร capsaicin ในผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ร้อยละ 0.025 โดยน้ าหนัก ( w/w) และยาครีมไพล เป็นยาที่มีปริมาณน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าไพล (Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr.) ร้อยละ 14 โดยปริมาตรต่อน้ำหนัก ( v/w) ทั้ง 2 ตำรับ จัดเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติสมุนไพร สำหรับใช้ภายนอกสำหรับรักษาอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก

 

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาตำรับยาในรูปแบบอิมัลชันเจล ( emulsion gel) เพื่อที่จะรวมสมุนไพร ทั้ง 2 ชนิดให้อยู่ในตำรับเดียวกัน ครอบคลุมอาการปวดตามประกาศสรรพคุณในบัญชียาหลักแห่งชาติ ทำการ พัฒนา 3 สูตรตำรับ โดยใช้เทคโนโลยีทางเภสัชกรรมการปรับปริมาณสารลดแรงตึงผิวผสม 2 ชนิด ( Span® 80 กับ Tween® 80) ในตำรับอิมัลชันก่อนนำมาพัฒนาต่อเป็นอิมัลชันเจล ทำการคัดเลือกตำรับที่มีคุณสมบัติทาง กายภาพและเคมีที่ดีที่สุด ลักษณะทางกายภาพของตำรับ ได้แก่ ความเข้ากันหรือการแยกชั้น ความหนืดและ ความเป็นกรดด่างของตำรับที่วันที่ 1 และ 7 ลักษณะทางเคมี ได้แก่ การพิสูจน์เอกลักษณ์ทางเคมีโดยใช้ Thin layer Chromatography การวิเคราะห์ปริมาณสาร capsicin โดยใช้ High Performance Liquid Chromatography การทดสอบความคงตัว โดยใช้เทคนิค Freeze – thaw cycling จ านวน 6 วงรอบ

 

ผลการศึกษาพบว่าตำรับที่ 2 และ 3 เป็นต ารับที่มีคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีที่ดี ไม่แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ( p-value>0.05) ในประเด็นลักษณะทางกายภาพของตำรับ ความหนืดและความเป็นกรด ด่างของตำรับที่วันที่ 1 และ 7 ในประเด็นลักษณะทางเคมีพบว่าพบว่าตำรับที่พัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เภสัชตำรับในการวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ capsicin สรุปผลการศึกษา ตำรับอิมัลชันเจลที่พัฒนาจากสาร สกัดพริกและไพลได้เป็นไปตามมาตรฐานเภสัชตำรับในด้านกายภาพและเคมี อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษา เพิ่มเติมในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของตำรับต่อไป

 

Download อ่านข้อมูลฉบับเต็ม

plaichillEMJ

รายงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรสเปรย์หญ้าดอกขาว

รายงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรสเปรย์หญ้าดอกขาว

ภก.อดิศักดิ์ ถมอุดทา
กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลมหาสารคาม

1. ที่มาและความสำคัญ
หญ้าดอกขาว มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Vernonia cinerea (L.) Less วงศ์ Asteraceae เป็นพืชเขตร้อน
ที่พบได้ทั่วไปในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละทอง
ถิ่น เช่น หมอน้อย หญ้าละอองดาว ก้านธูป ถั่วแฮะดิน ฝรั่งโคก เสือสามขา หญ้าสามวัน เซียวซัวเฮา เอกสาร
ข้อมูลในทางการแพทย์อายุรเวช นิยมใช้ชื่อ Sahadevi มากที่สุด

หญ้าดอกขาวจัดเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก ขนาดเล็ก มีอายุประมาณ 1-5 ปี สูง 1-5 ฟุต ลำต้นเป็นเหลี่ยมตั้ง
ตรงแตกกิ่งก้านน้อย มีขนนุ่ม ใบมีหลายรูป ทั้งรูปไข่รี ปลายและโคนแหลม ผิวใบค่อนข้างเรียบ มีขนนุ่ม ดอก
เล็กกลมเป็นพู่เป็นช่ออยู่ปลายยอดมีสีม่วงหรือชมพูผลแห้งขนาดเล็ก ปลายมีขนแห้งสีขาวเป็นพู่แตกบาน
เจริญได้ตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา ได้แก่ ลำต้น ใบ ดอก เมล็ด ราก ลำต้น ใช้ลำต้นแห้งน ามาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้
ปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ แผลบวมอักเสบ ใบ ใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกแผลช่วยสมาน หรือคั้นแล้ว
กรองเอาน้ าหยอดตาแก้ฝ้าฟาง ตาแดง ทาแก้กลากเกลื้อ เมล็ด ใช้เมล็ดแห้งมาป่นให้ละเอียด ชงกับน้ำร้อนเป็น
ยาขับพยาธิเส้นด้วย ปัสสาวะขัดบำรุงธาตุ ราก ใช้รากสดเอามาต้มเอาน้ำกินขับพยาธิ  ขับปัสสาวะ ช่วยเร่ง
คลอดและขับรกหลังคลอด ทั้งต้นและราก ตากแห้งบดเป็นผง รักษาแผลสด แผลเรื้อรัง ผิวหนังพุพอง ต้มกิน
แก้ปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ หรือตำพอกนมแก้นมคัด

ยาจากสมุนไพรหญ้าดอกขาว ถูกบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2554 มีข้อบ่งใช้เพื่อลดความ
อยากบุหรี่ โดยรับประทานครั้งละ 2 กรัม ชงในน้ าร้อนประมาณ 120-200 มิลลิลิตร หลังอาหารวันละ 3-4
ครั้ง และ สปสช. ประกาศรองรับให้ผู้มีสิทธิสามารถได้รับยานี้ภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ข้อ
ควรระวังของการใช้คือ ควรระวังในผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคไต เนื่องจากหญ้าดอกขาวมีโพแทสเซียมสูง ส่วน
อาการไม่พึงประสงค์คือทำให้ปากแห้ง คอแห้ง

เนื่องจากหญ้าดอกขาวในรูปแบบชาชงตามบัญชียาหลักแห่งชาตินั้น มีข้อจำกัดในการใช้ คือ
1. จำเป็นต้องใช้น้ำร้อนในการแช่ชาไว้สักครู่เพื่อให้ชาละลายก่อนใช้ดื่ม
2. ไม่สะดวกในการพกพา
3. สมุนไพรมีรสขมเฝื่อนและมีกลินเหม็นเขียวเนื่องจากไม่ได้มีการปรุงแต่งรส

ดังนั้นอาจทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากนัก ทำให้ประสิทธิภาพในการเลิกบุหรี่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
การพัฒนาตำรับให้ใช้งานง่ายขึ้น สะดวก พกพาสะดวก จึงเป็นที่มาของการพัฒนาต ารับสเปรย์หญ้าดอกขาว

 

Download อ่านข้อมูลฉบับเต็ม

รายงานการพัฒนาตำรับสเปรย์หญ้าดอกขาว2