รพ.มหาสารคาม จัดโครงการ อย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคดูแล ห่วงใย ใส่ใจชุมชน ปี 2565

รพ.มหาสารคาม จัดโครงการ อย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคดูแล ห่วงใย ใส่ใจชุมชน ปี 2565

ที่ห้องประชุมตักสิลา อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานเปิดโครงการ อย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคดูแล ห่วงใย ใส่ใจชุมชน ปี 2565 โดยมีแพทย์หญิงจรัญญา จุฬารี รองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นผู้กล่าวรายงาน มีคณะครู นักเรียนโรงเรียนผดุงนารี อำเภอเมืองมหาสารคาม  และเครือข่ายบริการสุขภาพ รพ.สต./ศสม. อำเภอเมืองมหาสารคามเข้าร่วม

ทั้งนี้ โครงการ อย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคดูแล ห่วงใย ใส่ใจชุมชน ปี 2565 จัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการป้องกันควบคุมโรคและลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ พัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค (อย. น้อย) ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ   แก่เครือข่ายโรงเรียนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาโรงเรียนอาหารปลอดภัย (Food Safety School) และโรงเรียนยาปลอดภัย (RDU School) ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคยา อาหาร เครื่องสำอาง สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่ถูกต้อง

นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เปิดเผยว่า การดำเนินงาน อย. น้อย ในโรงเรียนและพัฒนาระดับความสำเร็จของเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค (อย. น้อย) ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพระดับอำเภอที่มีความเข้มแข็ง มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรอบรู้ ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องการบริโภค การเลือกซื้อและอ่านฉลากยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอาง อาหาร และสมุนไพร เพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เฝ้าระวังและจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์ไม่ปลอดภัยในโรงเรียนได้ และอีกประเด็นที่สำคัญ คือ การใช้ยาอย่างสมเหตุผลโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง (RDU Community) เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านยาสมเหตุผล (RDU Literacy) ให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและจัดการปัญหาด้านยาอย่างเป็นระบบและความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัย (Food Safety Literacy) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนในชุมชนเกิดการตื่นตัวในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องการบริโภค การเลือกซื้อและอ่านฉลากยา การเฝ้าระวังยาที่ไม่ปลอดภัยในชุมชน และในฐานะผู้บริโภคนักเรียนยังไม่เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ในเรื่องการปกป้องสิทธิของตนเอง วิธีการ กระบวนการ รวมถึงแนวปฏิบัติที่มีความเป็นไปได้แก่นักเรียนในการที่จะดำเนินการต่อเนื่อง ภายหลังจากตรวจสอบอาหาร ยา เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รวมพลังในการปกป้องสิทธิ ซึ่งจะเป็นประโยชน์นอกจากต่อตัวนักเรียนเองแล้วยังเป็นประโยชน์ต่อชุมชน และสังคมโดยรวมอีกด้วย เป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิต ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ตระหนักถึงผลเสียและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาต่อธุรกิจและภาพลักษณ์ของตนเอง

อำเภอเมืองมหาสารคาม  ในปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมามีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียน อย.น้อย จำนวน 77 แห่ง และผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานโรงเรียน อย.น้อย ดังนี้ โรงเรียนมัธยม จำนวน 8 แห่ง ผ่านเกณฑ์ระดับดีมาก จำนวน 7 แห่ง และระดับพอใช้ 1 แห่ง   โรงเรียนประถมจำนวน 53 แห่ง ผ่านเกณฑ์ระดับดีเยี่ยม จำนวน 1 แห่ง (โรงเรียน พระกุมารมหาสารคาม ) ระดับดีมากจำนวน 15 แห่ง ระดับดีจำนวน 34 แห่ง และระดับพอใช้ จำนวน 3 แห่ง  ด้านโรงเรียนประถมขยายโอกาส จำนวน 16 แห่ง ผ่านเกณฑ์ระดับดีมาก จำนวน 7 แห่ง  และผ่านเกณฑ์ระดับดีจำนวน 9

แพทย์หญิงจรัญญา จุฬารี รองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า งานคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลมหาสารคาม ให้ความสำคัญกับการดำเนินงาน อย.น้อย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียน อย.น้อย จะเป็นเครือข่ายที่ “ทรงพลัง” ในการเผยแพร่ความรู้ตลอดจนช่วยตรวจสอบอาหาร ยา เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมถึงรณรงค์ให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้แก่ อาหาร ยา และเครื่องสำอางที่เหมาะสมปลอดภัยมากขึ้น  ขยายจากโรงเรียนไปชุมชนใกล้เคียงและขยายผลไปทั่วประเทศ ซึ่งจะสร้างเสริมให้นักเรียนและประชาชนทั่วไป มีพฤติกรรมการบริโภคที่ดีต่อไปในอนาคต

 

 

 

อย.น้อย

โรงพยาบาลมหาสารคาม จัดโครงการฝึกอบรม อย.น้อย ยุคใหม่ใส่ใจชุมชน เฝ้าระวัง ตรวจสอบ ผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียน

อย.น้อย

ที่ห้องประชุมตักสิลา ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม นายอนุพงศ์ คำภูแก้ว นายอำเภอเมืองมหาสารคาม เป็นประธานเปิดโครงการ อย.น้อย ยุคใหม่ใส่ใจชุมชน ซึ่งจัดโดยโรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อสร้างความรู้ ประสบการณ์ให้กับนักเรียน สามารถนำไปปรับใช้ในครัวเรือน และชุมชน ปลูกฝังเรื่องอาหารปลอดภัยและการใช้สมุนไพรดูแลตนเอง โดยมีนักเรียน อาจารย์ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และเครือข่าย พชอ.  อาหารปลอดภัยและเมืองสมุนไพรเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับอำเภอเมืองมหาสารคาม เข้ารวมจำนวน 150 คน

นายอนุพงศ์  คำภูแก้ว นายอำเภอเมืองมหาสารคาม เปิดเผยว่า ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีมีมากขึ้น วิถีชีวิตของประชาชน เศรษฐกิจและสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไป มีการพึ่งพาผลิตภัณฑ์จากสารเคมีและสิ่งปรุงแต่งสังเคราะห์ในชีวิตประจำวัน ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมากขึ้น ประกอบกับการแข่งขันในกลุ่มผู้ประกอบการ ทำให้มีการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าว  ในขณะเดียวกันยังมีการโฆษณาโอ้อวดเกินจริง ในอาหารเสริมและเครื่องสำอางพบสารห้ามใช้ ยังหาซื้อได้ง่าย และสิ่งที่พบบ่อยและน่าเป็นห่วงมากคือ  ในอาหารพบสารปนเปื้อน ในผัก/ผลไม้พบสารฆ่าแมลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งสิ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการตรวจสอบ เฝ้าระวังอยู่เป็นประจำ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรได้รับการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ในการส่งเสริมสุขภาพ และตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยผ่านตัวแทนนักเรียน หรือ อย.น้อย เป็นพลังช่วยขับเคลื่อน

อย.น้อย

ด้านนายแพทย์ไพบูลย์ อัศวธนบดี รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม ด้านบริการปฐมภูมิ เปิดเผยว่า  ผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก เป็นกลุ่มนักเรียนที่เป็นอาสาสมัครในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ทั้งในโรงเรียนและชุมชน เปรียบเสมือนคณะกรรมการอาหารและยาตัวน้อยๆ ที่ได้รับองค์ความรู้ด้านการเฝ้าระวัง ตรวจสอบ ผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียน อาทิ เช่น อาหาร ยา  เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน ซึ่งที่ผ่านมา อย.น้อยในโรงเรียนต่าง ๆ ได้ดำเนินกิจกรรมฝ้าระวังและตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ปลอดภัย โดยเฉพาะการเฝ้าระวังในโรงเรียนและชุมชนตามมาตรฐาน 7 องค์ประกอบ  เพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชนไทย ที่สามารถปกป้องคุ้มครองตนเอง ครอบครัว และสังคม ให้ปลอดภัยจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพปนเปื้อนสารพิษ มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรง

สำหรับกิจกรรมภายในงาน ยังมีกิจกรรมประกวดวาดรูปและเรียงความ เรื่อง อย.น้อยกับอาหารปลอดภัยและเมืองสมุนไพรในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอเมืองมหาสารคาม เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพื่อให้นักเรียน อย.น้อยเหล่านี้ ได้มีความรู้ ประสบการณ์ และเกิดการเรียนรู้ เพื่อนำไปปรับใช้ในครัวเรือน และชุมชน และปลูกฝังเรื่องอาหารปลอดภัยและการใช้สมุนไพรดูแลตนเอง เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ให้กับตนเองและขยายผลสู่บุคคลรอบข้าง และชุมชนต่อไป