โรงพยาบาลมหาสารคาม

โรงพยาบาลมหาสารคาม ฝึกซ้อมบุคลากร เตรียมพร้อมรับอุบัติเหตุหมู่

โรงพยาบาลมหาสารคาม จัดการฝึกซ้อมการบริหารจัดการและการเตรียมความพร้อมอุบัติเหตุหมู่(เสมือนจริง) โดยจำลองสถานการณ์ อุบัติเหตุรถทัวร์พลิกคว่ำ สถานที่เกิดเหตุบ้านท่าแร่ ต.แก่งเลิงจาน อ.เมืองจังหวัดมหาสารคาม มีผู้บาดเจ็บจำนวน 25 รายประกอบด้วย ผู้ป่วยหนัก 5 ราย ปานกลาง 10 ราย เล็กน้อย 10 ราย โดยผู้บาดเจ็บทั้งหมดถูกนำส่งโรงพยาบาลมหาสารคามเพื่อทำการรักษา

นายแพทย์ไพบูลย์ อัศวธนบดี รองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลมหาสารคาม รับภารกิจเป็นผู้อำนวยการซ้อมแผนอุบัติเหตุหมู่ครั้งนี้เปิดเผยว่า การซ้อมรับอุบัติเหตุกลุ่มชน นอกจากจะเป็นการเตรียมความพร้อมด้านบริการประชาชน เมื่อเกิดสาธารณภัยแล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมด้านการสื่อสาร การบริหารจัดการ ณ จุดเกิดเหตุ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากหน่วยกู้ชีพ ไปส่งยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพเหมาะสมในพื้นที่ที่กำหนด ตามความสามารถรองรับบริการของโรงพยาบาลเหล่านั้น ถือเป็นการเตรียมความพร้อมในการกำหนดบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุกลุ่มชนนั้น ๆ ขึ้น บุคลากรทั้งหมดจะได้มีความพร้อมและปฏิบัติงานได้จริงและช่วยชีวิตผู้ประสบอุบัติเหตุได้ทันท่วงที

 

อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล

โรงพยาบาลมหาสารคาม จัดประชุมวิชาการอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล ประจำปี 2562

อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล

ที่ห้องประชุมตักสิลาชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก  นายแพทย์ไพบูลย์ อัศวธนบดี รองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล ประจำปี 2562 เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถจัดบริการอาชีวอนามัยแก่ผู้รับบริการ ตลอดจนผู้ให้บริการทางสุขภาพได้อย่างเหมาะสม โดยมีนายแพทย์มารุต ตำหนักโพธิ หัวหน้ากลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นวิทยากร และได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ประชุมพร  เลาห์ประเสริฐ อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  และรศ.ดร.พญ.เนสินี  ไชยเอีย อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นวิทยากรบรรยายในครั้งนี้ ซึ่งมีหัวหน้างาน หัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาสารคาม ผู้รับผิดชอบงานอาชีวอนามัยในโรงพยาบาลชุมชน ผู้รับผิดชอบงานอาชีวอนามัยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เข้าร่วมประชุมกว่า 100 คน

ตามที่กรมควบคุมโรค โดยสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัย และเวชกรรมสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ซึ่งเป็นการบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยมีประชากรกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ กลุ่มแรงงานในระบบ กลุ่มแรงงานนอกระบบ กลุ่มผู้ให้บริการทางสุขภาพ รวมถึงกลุ่มประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล

อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล

อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล

 

โรงพยาบาลมหาสารคาม รวมพลัง อสม. รณรงค์ “ถึงเวลา ยุติปัญหาวัณโรค” เนื่องในวันวัณโรคสากลปี 2562

โรงพยาบาลมหาสารคาม รวมพลัง อสม. รณรงค์ “ถึงเวลา ยุติปัญหาวัณโรค”

โรงพยาบาลมหาสารคาม รวมพลัง อสม. รณรงค์ “ถึงเวลา ยุติปัญหาวัณโรค” เนื่องในวันวัณโรคสากลปี 2562

โรงพยาบาลมหาสารคาม รวมพลัง อสม. รณรงค์ “ถึงเวลา ยุติปัญหาวัณโรค” เนื่องในวันวัณโรคสากลปี 2562

ที่วัดนาควิชัย อ.เมือง จ.มหาสารคาม  แพทย์หญิงจรัญญา จุฬารี  รองผู้อำนวยการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล  พร้อมด้วยผู้รับผิดชอบงาน  ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองมหาสารคาม  ในเรื่องการป้องกัน ดูแล รักษา และควบคุมวัณโรคเพื่อลดอัตราป่วยและอัตราตาย โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่าย และสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดนโยบายเร่งรัดคัดกรอง ค้นหา ตรวจและรักษาผู้ป่วยวัณโรคในประชากรกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สัมผัสใกล้ชิด ผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ต้องขังในเรือนจำ ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ผู้สูงอายุมีโรคร่วม แรงงานข้ามชาติ และบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้ครอบคลุม

 

วันวัณโรคสากล (World TB Day) ตรงกับวันที่ 24 มีนาคมของทุกปี ในปีนี้ องค์กรต่าง ๆ ในระดับนานาชาติ ได้กำหนดข้อความสื่อไปถึงทุกภาคส่วนร่วมกันรณรงค์ในทิศทางเดียวกัน คือ “IT’S TIME TO ZERO TB” หรือ “ถึงเวลา ยุติปัญหาวัณโรค” มีความหมายว่า “ถึงเวลาที่พวกเราทุกคน ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันปฏิบัติกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ เพื่อยุติปัญหาวัณโรคของประเทศ”ตามเป้าหมายแผนปฏิบัติการระดับชาติ นำไปสู่ TB-Free Thailand For TB-Free World “เมืองไทยปลอดวัณโรค เพื่อโลกปลอดวัณโรค” มีเป้าหมายการลดอุบัติการณ์วัณโรคลงอย่างน้อยร้อยละ 12.5 ต่อปี เหลือ 88 ต่อแสนประชากร เมื่อสิ้นปี 2564 และบรรลุเป้าหมายยุติปัญหาวัณโรคเหลือ 10 ต่อแสนประชากร เมื่อสิ้นปี 2578

โรงพยาบาลมหาสารคาม รวมพลัง อสม. รณรงค์ “ถึงเวลา ยุติปัญหาวัณโรค” เนื่องในวันวัณโรคสากลปี 2562

 

 

โรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมออกหน่วย พอ.สว. ที่บ้านนาคำน้อย ต.เหล่าดอกไม้ อ.ชื่นชม

โรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมออกหน่วย พอ.สว. ที่บ้านนาคำน้อย ต.เหล่าดอกไม้ อ.ชื่นชม

(20-3-2562) นายแพทย์สุนทร ยนต์ตระกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมด้วยพร้อมคณะแพทย์ พยาบาล และบุคลากร ร่วมออกหน่วยแพทย์อาสา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) ให้บริการประชาชนออกตรวจรักษาโรคทั่วไป โรคทางทันตกรรม สังคมสงเคราะห์ สุขภาพจิต และบริการแพทย์แผนไทย เป็นต้น แก่พี่น้องประชาชน วัดบ้านนาคำน้อย ตำบลเหล่าดอกไม้ อำเภอชื่นชม  จังหวัดมหาสารคาม โดยมีนายนที มนตริวัต รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ และหน่วยบรรเทาทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน จ.มหาสารคาม (จังหวัดเคลื่อนที่) พร้อมมอบสิ่งของแก่ประชาชนและผู้สูงอายุ และทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มีความประพฤติดี

โรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมออกหน่วย พอ.สว. ที่บ้านนาคำน้อย ต.เหล่าดอกไม้ อ.ชื่นชม

การพยาบาลรายกรณีในกลุ่มโรคสำคัญ

โรงพยาบาลมหาสารคาม มุ่งพัฒนาการพยาบาลรายกรณีในกลุ่มโรคสำคัญ

การพยาบาลรายกรณีในกลุ่มโรคสำคัญ

(18-3-2562)  นายแพทย์สุนทร ยนต์ตระกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม  เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาการพยาบาลรายกรณีในกลุ่มโรคสำคัญ  ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เรื่องการจัดการรายกรณี   การจัดทำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในกลุ่มโรคที่สำคัญ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และเพื่อติดตามตัวขี้วัดทางการพยาบาล ในกลุ่มโรคที่สำคัญ

การพยาบาลรายกรณีในกลุ่มโรคสำคัญ

โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์  อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ในครั้งนี้  ซึ่งมีคณะกรรมการดำเนินงานการจัดโครงการ พัฒนาการพยาบาลรายกรณีในกลุ่มโรคสำคัญ และผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟังกว่า 100 คน  ณ ห้องประชุมตักสิลา ชั้น 4 อาคารผู้ป่วนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม

การพยาบาลรายกรณีในกลุ่มโรคสำคัญ

การพยาบาลรายกรณีในกลุ่มโรคสำคัญ

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาสารคาม จัดงานปัจฉิมนิเทศ และแสดงความยินดีวันสำเร็จการศึกษา นักศึกษาแพทย์รุ่นที่ 4

ศูนย์แพทยศาสตรฯ รพ.มหาสารคาม จัดงานปัจฉิมนิเทศ นักศึกษาแพทย์รุ่นที่ 4

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก  โรงพยาบาลมหาสารคาม จัดงานปัจฉิมนิเทศ และแสดงความยินดีวันสำเร็จการศึกษา นักศึกษาแพทย์รุ่นที่ 4

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก  โรงพยาบาลมหาสารคาม จัดงานปัจฉิมนิเทศ และแสดงความยินดีวันสำเร็จการศึกษา นักศึกษาแพทย์รุ่นที่ 4

(15-3-2562)  นายแพทย์สุนทร ยนต์ตระกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม  เป็นประธานกล่าวแสดงความยินดี และมอบเกียรติบัตรการผ่านปฏิบัติงานตามหลักสูตร แก่นักศึกษาแพทย์ที่สำเร็จการศึกษา  จำนวน 18 คน ซึ่งนับเป็นบัณฑิตรุ่นที่ 4 ของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก  โรงพยาบาลมหาสารคาม โดยกระทรวงสาธารณสุข   ได้ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดำเนินงานตามโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนและการกระจายแพทย์ให้เหมาะสมในพื้นที่ชนบท   ซึ่งในงานมีการจัดเสวนาเรื่อง “หมอเพื่อชาวชนบท วิชาชีพที่ภาคภูมิใจ”  พิธีบายศรีสู่ขวัญ และพิธีมอบเกียรติบัตร    โดยมีคณะผู้บริหาร อาจารย์แพทย์ ผู้ปกครอง นักศึกษาแพทย์ และเจ้าหน้าที่เข้าร่วมงานเพื่อแสดงความยินเป็นจำนวนมาก

ด้านแพทย์หญิงเบญจมาศ  ดวงคำน้อย รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ด้านกิจการนักศึกษาและกิจกรรมพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์แพทยศาสตรศึกษา กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ 2556 เป็นต้น มาโรงพยาบาลมหาสารคามได้ให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนโดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์หลักของโรงพยาบาลมหาสารคาม ได้มีการเตรียมพร้อมด้านอาจารย์แพทย์  โดยส่งเสริมให้มีการพัฒนาความรู้ของครูแพทย์ให้ได้ร้อยละ 100 เพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ การจัดสรรงบประมาณ  วัสดุ  อุปกรณ์ อาคารสถานที่ การจัดกำลังเจ้าหน้าที่ รวมทั้ง สายสหวิชาชีพเป็นอาจารย์พิเศษ ดูแลนักศึกษาที่ฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย   นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาคุณภาพ การจัดการเรียนการสอนให้มีมาตรฐาน  ตามเกณฑ์แพทยสภาและ เกณฑ์มาตรฐานระดับโลก จนได้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และเป็นที่ชื่นชมของนักศึกษาแพทย์ที่ผ่านการฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาสารคาม

 

โรงพยาบาลมหาสารคาม ชวนบุคลากร“ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี” สร้างเสริมร่างกายให้แข็งแรง ด้วยเทคนิคสุขภาพดีตามแนวทางแพทย์วิถีธรรม

โรงพยาบาลมหาสารคาม ชวนบุคลากร“ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี” ตามแนวทางแพทย์วิถีธรรม

          รพ.มหาสารคาม ชวนบุคลากร“ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี” สร้างเสริมร่างกายให้แข็งแรง ด้วยเทคนิคสุขภาพดีตามแนวทางแพทย์วิถีธรรม

(8-3-2562) นายแพทย์สุนทร  ยนต์ตระกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีพิธีเปิด โครงการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแพทย์วิถีธรรม “ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี” เพื่อให้บุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคามได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม และเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี ณ วัดธัญญาวาส  ต.ตลาด  อ.เมือง จ.มหาสารคาม โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าอบรมประกอบด้วยบุคลากร รพ.หาสารคาม ที่มีค่าดัชนีมวลกายเกิน หรือมีภาวะเริ่มอ้วนจำนวน 100 คน  และประชาชนจากชุมชนใกล้เคียงและผู้สนใจอีกกว่า 30 คน

สำหรับกิจกรรมจะเน้นการปฏิบัติจริงเป็นฐานการเรียนรู้ 3 ฐาน การประยุกต์การแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และการแพทย์พื้นบ้าน รวมถึงหลัก 8 อ. เพื่อสุขภาพดี ในส่วนของวิทยากรได้รับความอนุเคราะห์ จากจิตอาสาจังหวัดกาฬสินธุ์ โรงพยาบาลมหาสารคาม และรพ.สต.เครือข่าย

นายแพทย์สุนทร  ยนต์ตระกูล ผอ.รพ.มหาสารคาม เปิดเผยว่า ด้วยเขตสุขภาพที่ 7 ได้กำหนดแผนพัฒนาในการส่งเสริมป้องกันโรค ลดปัญหาโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ ด้วยการนำหลักการสร้างสุขภาพดี 5 อ. คือ อาหาร อากาศ ออกกำลังกาย อารมณ์ และเอาพิษออก รวมทั้งการนำหลักธรรมของพระพุทธเจ้าในการลด ละ กิเลส การสร้างคุณงามความดีทำจิตใจให้ผ่องใส การใช้แพทย์วิถีธรรม 9 ขั้นตอนหรือยา 9 เม็ด ประกอบกับจากผลการตรวจสุขภาพประจำปี ของบุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคาม ในปี 2559-2561 พบว่า บุคลากร มีภาวะเสี่ยงต่อโรคที่พบมากที่สุด 5 อันดับ คือ โคเลสเตอรอลสูง รอบเอวเกิน ระดับน้ำตาลในเลือดค่าปกติ และความดันโลหิตสูง   ส่วนในด้านพฤติกรรม พบว่ามีการออกกำลังกายบ้างแต่ไม่สม่ำเสมอ และไม่ออกกำลังกายเลย

ดังนั้น รพ.มหาสารคาม โดยกลุ่มงานสุขศึกษา จึงได้จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแพทย์วิถีธรรม ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อให้บุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคามได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม รู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดีในวิธีที่ประหยัด เรียบง่าย ปลอดภัยและได้ผลเร็ว ซึ่งสามารถพึ่งตนเองได้ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย กดจุด การกายบริหารตนเอง หรือพิจารณาการเลือกรับประทานอาหารหรือนำสิ่งที่มีประโยชน์เข้าสู่ร่างกาย  โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นหลัก เช่น พืชผักสวนครัว อาหารตามฤดูการในท้องถิ่น ซึ่งจะก่อให้เกิดความยั่งยืนในการดูแลสุขภาพตนเองต่อไป

 

รพ.มหาสารคามจัดงานรณรงค์วันการได้ยินโลก ปี 2562

รพ.มหาสารคามจัดงานรณรงค์วันการได้ยินโลก ปี 2562

 รพ.มหาสารคามจัดงานรณรงค์วันการได้ยินโลก ปี 2562  ด้านแพทย์เผยปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการสูญเสียการได้ยิน มาจากการใช้ชีวิตที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังมากขึ้น

          นายแพทย์สุดชาย เลยวานิชย์เจริญ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ รพ.มหาสารคาม เป็นประธานในพิธีเปิด รณรงค์วันการได้ยินโลก ปี 2562  (Word Hearing Day ๒๐๑๙ ) เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนได้ตระหนักถึงปัญหาการได้ยินและฟื้นฟูการได้ยินตั้งแต่ระยะแรกที่พบความผิดปกติ ณ บริเวณหน้าห้องตรวจ หู คอ จมูก  ชั้น ๒ อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม โดยมีกิจกรรม ประกอบไปด้วย การตรวจการได้ยิน  การตรวจหู การให้ความรู้  การถามตอบปัญหา และการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการได้ยิน และโรคทางหู ในกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และผู้สูงอายุ

นายแพทย์สุดชาย เลยวานิชย์เจริญ เปิดเผยว่า จากรายงานสถานการณ์ปัญหาการสูญเสียการได้ยินในประเทศไทย ด้านคนพิการในประเทศไทย โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าการออกบัตรประจำตัวคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย มีมากเป็นอันดับ  2  คิดเป็นร้อยละ 18.41 รองจากความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกาย คิดเป็นร้อยละ 49.77   อายุที่มากขึ้นก็จะพบผู้ป่วยที่มีปัญหาการได้ยินสูงขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตามข้อมูลนี้เป็นจำนวนเฉพาะผู้ที่มารับการจดทะเบียนคนพิการ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วปัญหาการได้ยินลดลงในประชากรไทยมีประมาณ 2.7 ล้านคน ซึ่งหากไม่รีบป้องกันและแก้ไข ในอนาคตคนไทยทุกๆ 10 คน อาจจะพบผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน 1 คน

แพทย์หญิง ญาณพันธุ์ ถายา หัวหน้ากลุ่มงาน โสต ศอ เปิดเผยว่า สาเหตุของการสูญเสียการได้ยินมีหลายประการ เช่น การอักเสบติดเชื้อของหูหรือเยื่อหุ้มสมอง  ศีรษะได้รับการกระทบกระแทกรุนแรง การสัมผัสเสียงดังๆ การเสื่อมสภาพตามอายุ หรือยาบางชนิดมีฤทธิ์ทำลายหูชั้นใน เป็นต้น

เมื่อก่อนหูน้ำหนวกเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนมีปัญหาสูญเสียการได้ยิน แต่ปัจจุบันเมื่อยาปฏิชีวนะดีขึ้นการเข้าถึงระบบสาธารณสุขดีขึ้นทำให้ปัญหาหูน้ำหนวกลดลง ประกอบกับพฤติกรรมคนเราเปลี่ยนไป มีการใส่หูฟังมากขึ้น มีการแสดง Concert ต่างๆ การแข่งขันกีฬา และกิจกรรมอื่นๆ ที่มีเสียงดัง ทำให้สาเหตุการสูญเสียการได้ยินเปลี่ยนไป นอกจากนี้คนเรามีอายุยืนมากขึ้นประสาทหูเสื่อมจากอายุก็พบมากขึ้นด้วย  แต่ปัจจุบันกลับพบว่าประชาชนส่วนหนึ่งไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาการสูญเสียการได้ยินหรืออันตรายจากการสัมผัสเสียงดัง และไม่เคยได้รับการตรวจการได้ยิน  ซึ่งถ้าประสาทหูเสื่อมแล้วจะไม่มีทางแก้ไขให้เป็นเหมือนเดิมได้  ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะตระหนักถึงความสำคัญของการสูญเสียการได้ยินและพยายามหาทางป้องกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญเสียการได้ยิน เช่น ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และผู้ที่ทำงานในสถานประกอบการ เช่น สถานบันเทิง ร้านอาหาร หรืองานคอนเสิร์ตที่มีเสียงดังเป็นเวลานานและต่อเนื่อง  รวมถึงกลุ่มคนที่ใช้หูฟังเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือเป็นประจำ หรือวัยรุ่นที่เสียบหูฟังเพื่อฟังเพลงหรือเล่นเกมส์เสียงดังเป็นเวลานาน  เป็นต้น ดังนั้นเพื่อประชาชนหรือผู้ที่ทำงานในที่มีเสียงดังควรตรวจประเมินการได้ยินเป็นระยะ ๆ หรือพบแพทย์หากมีอาการผิดปกติทางการได้ยิน

โรงพยาบาลมหาสารคาม

โรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมพิธีเทิดพระเกียรติ พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย

โรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมพิธีเทิดพระเกียรติ พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย และวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

นายแพทย์สุดชาย เลยวานิชย์เจริญ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ รพ.มหาสารคาม พร้อมด้วยคณะบุคลากร ร่วมพิธีเทิดพระเกียรติ พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย และวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ณ หอประชุมศาลากลาง จ.มหาสารคาม โดยมีนายเกียรติศักดิ์ จันทรา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

จากนั้นประธานกล่าวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นำข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ผู้ร่วมงาน ร่วมกันยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 89 วินาที เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเยี่ยมชมนิทรรศการฯ ของสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดมหาสารคาม“พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย”

       สำหรับวันพระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทยและวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2513 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิดงาน แนะแนวอาชีพ และแข่งขันฝีมือแห่งชาติครั้งที่ 1 ณ ลุมพินีสถาน และมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับความเป็นช่างของคนไทย ความตอนหนึ่งว่า “…ช่างทุกประเภท เป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของบ้านเมืองและของคนทุกคน เพราะตลอดชีวิตของเรา เราต้องอาศัยและใช้บริการหรือสิ่งต่างๆ ที่มาจากฝีมือของช่างอยู่ทุกวี่ทุกวัน ผู้เป็นช่างจึงสมควรได้รับความเอาใจใส่ สนับสนุนจากทุกๆ ฝ่าย ยิ่งในสมัยปัจจุบัน วิทยาการทุกอย่างเจริญก้าวหน้า ยิ่งจำเป็นต้องส่งเสริมมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้ช่างที่มีความสามารถสูง ให้มีสิงใช้สอยที่มีคุณภาพดีและเพียงพอกับความต้องการในการส่งเสริมนั้น มีปัญหาอันควรจะได้พิจารณาช่วยเหลืออยู่สามประการ  ประการแรก ได้แก่ ปัญหาเรื่องการให้ความรู้ทางหลักวิทยาการ และความรู้ทางการออกแบบ  ประการที่สอง ได้แก่ ปัญหาเรื่องฝีมือซึ่งต้องปรับปรุงให้มีความประณีตและประสิทธิภาพได้มาตรฐานจริงๆ  ประการที่สาม ได้แก่ ปัญหาเรื่องการจัดหางานและหาตลาด เพื่อช่วยให้ช่างได้มีงานทำ มีตลาดที่จะส่งสินค้าที่ผลิตได้ไปจำหน่าย

      การช่วยเหลือทั้งสามประการนี้จะต้องการทำให้สอดคล้องกันไป เพื่อให้ช่างมีรายได้และผลกำไรสำหรับนำมาเป็นทุนรอนสร้างฐานะและความก้าวหน้า ข้าพเจ้าใคร่ขอฝวากความคิดทั้งนี้ไว้เป็นแนวปฏิบัติของท่านทั้งหลายต่อไป….” ดังนั้น เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กระทรวงแรงงานจึงเห็นสมควรถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยกำหนดให้วันที่ 2 มีนาคมของทุกปีเป็น “วันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ”

คณะอนุกรรมการอนามัยแม่และเด็ก มหาสารคาม มุ่งพัฒนาระบบสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด

(22-2-2562 )  ที่ห้องประชุมตักสิลาชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคามสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ระบบเครือข่ายแม่และเด็ก ระบบฝากครรภ์ และระบุช่องว่างของปัญหาระบบบริการภาวะคลอดก่อนกำหนดสำหรับแกนนำ ตามโครงการพัฒนาระบบสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดจังหวัดมหาสารคาม   โดยมีศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ธราธิป โคละทัด ผู้จัดการโครงการเครือข่ายสุขภาพมารคา และทารกเพื่อครอบครัวไทย ในพระราชูปถัมภ์ เป็นวิทยากรบรรยาย ซึ่งมีคณะอนุกรรมการอนามัยแม่และเด็ก ระดับอำเภอ 13 อำเภอ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม 100 คน