
มหาสารคาม ประเดิมฉีดวัคซีนโควิด-19 กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และ อสม. 380 คน







รพ.มหาสารคาม ขอขอบพระคุณ ครอบครัวคุณธำรง สุทธิวารี และครอบครัวที่ร่วมกันบริจาคเงินจำนวน 1,000,000 บาท สมทบทุนจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยต่าง ๆ ของโรงพยาบาลมหาสารคาม โดยมีนายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นผู้รับมอบ โดยคณะผู้บริหารและบุคลากรทุกคน ขอขอบพระคุณครอบครัวสุทธิวารี ที่มีจิตอันเป็นกุศลร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของโรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมกันนี้ ขออ้างอิงถึงอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย กุศลทานบริจาคในครั้งนี้ จงบันดาลให้ผู้บริจาค และครอบครัว ประสบสรรพสิริสวัสดิ พิพัฒนมงคล ประสงค์สิ่งใดจงสัมฤทธิ์ผล และมีความเจริญก้าวหน้า สมดังปรารถนาทุกประการ
(18-1-2564) ที่บริเวณห้องโถง ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม นายแพทย์สุดชาย เลยวานิชย์เจริญ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ววัน และทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง
ทั้งนี้ จังหวัดมหาสารคาม ได้เปิดให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ได้ร่วมลงนามถวายพระพร ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม เพื่อขอให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์หายจากพระอาการประชวรโดยเร็ว ตลอดเดือนมกราคม 2564 สำหรับประชาชนที่จะเดินทางไปลงนามถวายพระพร โปรดแต่งกายสุภาพและต้องปฏิบัติตามมาตรการของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด
รักษาการ ผู้ตรวจราชการ สธ. เขตสุขภาพที่ 7 ลงเยี่ยมให้กำลังใจ ทีมปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ระดับตติยภูมิ เพื่อรองรับด้านการแพทย์ในสถานการณ์ และตรวจเยี่ยมความพร้อมการดำเนินงานป้องกัน COVID-19 ของ รพ.มหาสารคาม
(13-1-2564) นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข มอบหมายให้ นายแพทย์สมฤกษ์ จึงสมาน รักษาการณ์ในตำแหน่งผู้ตรวจกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 7 ลงเยี่ยมให้กำลังใจ ทีมปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ระดับตติยภูมิ เพื่อรองรับด้านการแพทย์ในสถานการณ์ COVID-19 (Medical Emergency Response Team : MERT) จังหวัดมหาสารคาม ที่จะเดินทางไปปฏิบัติภาระกิจที่ โรงพยาบาลสนาม จังหวัดสมุทรสาคร และตรวจเยี่ยมการเตรียมความพร้อมการดำเนินงานป้องกันโรคติดต่อไวรัสโคโรน่า 2019 ของโรงพยาบาลมหาสารคาม ในจุดคัดกรอง ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน และหอผู้ป่วยแยกโรค โดยโรงพยาบาลมหาสารคามมีความพร้อมในทุกด้าน ปฏิบัติตาม หลัก DMHTT ได้แก่ D : Social Distancing เว้นระยะห่าง M : Mask สวมหน้า กากผ้า/หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน อยู่ในพื้นที่สาธารณะ H : Hand ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ T: Testing การตรวจเร็ว รักษาเร็ว ควบคุมโรคได้เร็ว และ T :ไทยชนะ แสกนทุกครั้งที่เดินทางเข้ารับบริการ
โดยโรงพยาบาลมหาสารคามสามารถรับผู้ป่วยติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและปัจจุบันปรับใช้ในสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ในหอผู้ป่วยเฉพาะโรคได้ถึง 32 เตียง ประกอบห้องความดันลบ (AIIR) 1ห้อง ห้องความดันลบแบบดัดแปลง (Modified AIIR )5 ห้อง ห้องแยก (Isolation room) 13 ห้อง พร้อมบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางดูแลตลอด 24 ชม.
(18-11-2563) นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมด้วยคณะบุคลากร เข้าร่วมโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ออกหน่วยแพทย์พระราชทานเคลื่อนที่เข้ารักษาสุขภาพผู้ต้องขังภายในเรือนจำจังหวัดมหาสาคาม โดยมีนายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานเปิดโครงการ ซึ่งโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เกิดขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงดำรงตำแหน่งองค์ประธานที่ปรึกษา และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงเป็นองค์ประธานกรรมการโครงการฯ ทรงมีพระเมตตาต่อผู้ต้องขังในเรือนจำ โดยทรงมองเห็นว่าแม้จะเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายบ้านเมือง และต้องมารับโทษในเรือนจำแต่บุคคลเหล่านี้ เป็นประชาชนคนไทยกลุ่มหนึ่ง ที่องค์พระประมุขของชาติ ใส่พระทัย ดูแลทุกข์สุขของประชาชนอย่างเท่าเทียม ในเรื่องการแพทย์และสาธารณสุข
โรงพยาบาลมหาสารคาม มอบทุนการศึกษาแก่นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม
จำนวน 8,000 บาท โดยมีนางรัตนาภรณ์ ยนต์ตระกูล ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านลูกค้าสัมพันธ์ และกิจกรรมพิเศษ โรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นผู้แทนมอบในครั้งนี้
ที่หอประชุมศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล ต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณแก่แม่ดีเด่น ประจำปี 2563 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2563
โดยมี นายเกียรติศักดิ์ จันทรา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม นำหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชนและประชาชนในจังหวัดมหาสารคาม ร่วมประกอบพิธีอย่างพร้อมเพรียงกัน
(4-8-2563) นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมด้วยคณะบุคลากร เข้าร่วมโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ บริการเอกซเรย์ทรวงอกเพื่อคัดกรองวัณโรคสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดมหาสารคามโดยรถเอกซเรย์เคลื่อนที่พระราชทาน โดยมีนายธรรมนูญ แก้วดำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานเปิดโครงการ ซึ่งโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เกิดขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงดำรงตำแหน่งองค์ประธานที่ปรึกษา และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงเป็นองค์ประธานกรรมการโครงการฯ ทรงมีพระเมตตาต่อผู้ต้องขังในเรือนจำ โดยทรงมองเห็นว่าแม้จะเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายบ้านเมือง และต้องมารับโทษในเรือนจำแต่บุคคลเหล่นี้ เป็นประชาชนคนไทยกลุ่มหนึ่ง ที่องค์พระประมุขของชาติ ใส่พระทัย ดูแลทุกข์สุขของประชาชนอย่างเท่าเทียม ในเรื่องการแพทย์และสาธารณสุข
(30-7-2563) นายแพทย์อุดม ภู่วโรดม สาธารณสุขนิเทศ เขตสุขภาพที่ 7 พร้อมด้วยนายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม และคณะบุคลากร ร่วมต้อนรับนายแพทย์สนธยา พรึงลำภู ที่ปรึกษาทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม และคณะตรวจประเมินสถานพยาบาลในดวงใจ ซึ่งการตรวจประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อรับการประเมินเป็นโรงพยาบาลในดวงใน ประจำปี 2563 โดยคณะผู้ตรวจประเมินได้เข้ารับฟังการนำเสนอผลการดำเนินงานและตรวจเยี่ยมหน่วยงานบริการต่างๆ หอผู้ป่วยใน พร้อมทั้งเข้าเยี่ยมผู้ประกันตนที่เข้ารับการรักษา พร้อมสอบถามความพึงพอใจจากผู้ประกันตนที่มาใช้บริการ โรงพยาบาลมหาสารคาม
ที่ห้องประชุมจัมปาศรี ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม รับมอบ “น้องกระติ๊บ” หุ่นยนต์ส่งของและฆ่าเชื้อด้วยแสงอัลตร้าไวโอเลต (Delivery and UV sterilization Robot) หุ่นยนต์คัดกรองอัจฉริยะตรวจวัดอุณหภูมิบุคคล และอุปกรณ์อุปกรณ์เสริมควบคุมระยะไกล สำหรับเครื่องห้สารละลายทางหลอดเลือด หรือ Infusion Pump ซึ่งออกแบบจะจัดสร้างโดย คณาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีนายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิ์ศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล พร้อมคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล ร่วมกันรับมอบ
รองศาสตราจารย์ ดร. เกียรติศักดิ์ ศรีประทีป คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดเผยว่า จากกรณีสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงได้ออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ “น้องกระติ๊บ” เพื่อสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ ในการช่วยส่งของเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ โดยขนาดของตัวหุ่นกว้าง 330 ยาว 360 สูง 1510 มิลลิเมตร มีการเคลื่อนที่โดยใช้ล้อ ปรับความเร็วในการเคลื่อนที่ได้โดยมีความเร็วสูงสุด 20 เซนติเมตรต่อวินาที เคลื่อนที่ผ่านพื้นที่ต่างระดับความสูงไม่เกิน 10 มิลลิเมตร มีการควบคุมและมองภาพไร้สายระยะไกลผ่านรีโมทระยะไม่น้อยกว่า 500 เมตร มีจอแสดงภาพด้านหน้าของหุ่นยนต์ส่งสัญญาณไร้สายมาที่ผู้บังคับ มีถาดสําหรับส่งอาหารและยา สามารถจับรถเข็นขนาด 40 x30 cm สำหรับลําเลียงสิ่งของเช่น เสื้อผ้า ของใช้ พร้อมทั้งมีหลอด UVC ใช้สําหรับฆ่าเชื้อโรค ในรถเข็น สิ่งของรัศมี 1.5 เมตร หรือตัวหุ่นยนต์ (หลอด UV 40W จํานวน 2 หลอด) ตลอดจนสามารถสื่อสารพูดคุยทางไกลได้ผ่านแท็ปเล็ต นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้มอบหุ่นยนต์ตรวจวัดอุณหภูมิ และอุปกรณ์ Central Monitoring โดยหวังว่า ในสถานการณ์เฝ้าระวังการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 “น้องกระติ๊บ”และอุปกรณ์ทางการแพทย์ดังกล่าว จะได้ช่วยแบ่งเบาภาระของแพทย์ พยาบาล เลี่ยงการติดเชื้อ และทำให้การปฏิบัติกับผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ด้าน นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิ์ศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล กล่าวว่า “น้องกระติ๊บ” ถือเป็นนวัตกรรมหุ่นยนต์ที่ผลิตมาเพื่อสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ในการช่วยดูแลผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจและผู้ป่วยไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) เพราะเป็นหุ่นยนต์ที่สามารถสั่งการบังคับไร้สาย ผ่านรีโมทคอนโทรล บุคลากรทางการแพทย์สามารถตรวจรักษาและดูแลผู้ป่วยได้ในระยะไกล โดยมองภาพผ่านกล้อง สามารถส่งอาหาร ส่งยา หรือเข็นรถเข็นเพื่อส่งของใช้ในชีวิตประจำวันให้ผู้ติดเชื้อหรือผู้เฝ้าระวัง ช่วยลดการติดต่อสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง และที่สำคัญ คือ มีระบบฆ่าเชื้อตัวเองและสิ่งของรอบข้างด้วยรังสี UV ช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัส และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อภายในโรงพยาบาลได้อีกด้วย