โรงพยาบาลมหาสารคาม ชวนบุคลากร“ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี” สร้างเสริมร่างกายให้แข็งแรง ด้วยเทคนิคสุขภาพดีตามแนวทางแพทย์วิถีธรรม

โรงพยาบาลมหาสารคาม ชวนบุคลากร“ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี” ตามแนวทางแพทย์วิถีธรรม

          รพ.มหาสารคาม ชวนบุคลากร“ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี” สร้างเสริมร่างกายให้แข็งแรง ด้วยเทคนิคสุขภาพดีตามแนวทางแพทย์วิถีธรรม

(8-3-2562) นายแพทย์สุนทร  ยนต์ตระกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีพิธีเปิด โครงการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแพทย์วิถีธรรม “ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี” เพื่อให้บุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคามได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม และเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี ณ วัดธัญญาวาส  ต.ตลาด  อ.เมือง จ.มหาสารคาม โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าอบรมประกอบด้วยบุคลากร รพ.หาสารคาม ที่มีค่าดัชนีมวลกายเกิน หรือมีภาวะเริ่มอ้วนจำนวน 100 คน  และประชาชนจากชุมชนใกล้เคียงและผู้สนใจอีกกว่า 30 คน

สำหรับกิจกรรมจะเน้นการปฏิบัติจริงเป็นฐานการเรียนรู้ 3 ฐาน การประยุกต์การแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และการแพทย์พื้นบ้าน รวมถึงหลัก 8 อ. เพื่อสุขภาพดี ในส่วนของวิทยากรได้รับความอนุเคราะห์ จากจิตอาสาจังหวัดกาฬสินธุ์ โรงพยาบาลมหาสารคาม และรพ.สต.เครือข่าย

นายแพทย์สุนทร  ยนต์ตระกูล ผอ.รพ.มหาสารคาม เปิดเผยว่า ด้วยเขตสุขภาพที่ 7 ได้กำหนดแผนพัฒนาในการส่งเสริมป้องกันโรค ลดปัญหาโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ ด้วยการนำหลักการสร้างสุขภาพดี 5 อ. คือ อาหาร อากาศ ออกกำลังกาย อารมณ์ และเอาพิษออก รวมทั้งการนำหลักธรรมของพระพุทธเจ้าในการลด ละ กิเลส การสร้างคุณงามความดีทำจิตใจให้ผ่องใส การใช้แพทย์วิถีธรรม 9 ขั้นตอนหรือยา 9 เม็ด ประกอบกับจากผลการตรวจสุขภาพประจำปี ของบุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคาม ในปี 2559-2561 พบว่า บุคลากร มีภาวะเสี่ยงต่อโรคที่พบมากที่สุด 5 อันดับ คือ โคเลสเตอรอลสูง รอบเอวเกิน ระดับน้ำตาลในเลือดค่าปกติ และความดันโลหิตสูง   ส่วนในด้านพฤติกรรม พบว่ามีการออกกำลังกายบ้างแต่ไม่สม่ำเสมอ และไม่ออกกำลังกายเลย

ดังนั้น รพ.มหาสารคาม โดยกลุ่มงานสุขศึกษา จึงได้จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแพทย์วิถีธรรม ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อให้บุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคามได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม รู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดีในวิธีที่ประหยัด เรียบง่าย ปลอดภัยและได้ผลเร็ว ซึ่งสามารถพึ่งตนเองได้ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย กดจุด การกายบริหารตนเอง หรือพิจารณาการเลือกรับประทานอาหารหรือนำสิ่งที่มีประโยชน์เข้าสู่ร่างกาย  โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นหลัก เช่น พืชผักสวนครัว อาหารตามฤดูการในท้องถิ่น ซึ่งจะก่อให้เกิดความยั่งยืนในการดูแลสุขภาพตนเองต่อไป