รพ.มหาสารคาม ต้อนรับคณะศึกษาดูงานการผลิตยาสมุนไพรมาตรฐาน WHO-GMP

รพ.มหาสารคาม ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการผลิตยาสมุนไพรมาตรฐาน WHO-GMP จากโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม

  แพทย์หญิงจรัญญา  จุฬารี  รองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิ โรงยาบาลมหาสารคาม  ดร.ภก.อดิศักดิ์ ถมอุดทา เภสัชกรชำนาญการพิเศษ หัวหน้างานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พร้อมคณะบุคลากร ร่วมต้อนรับพันเอกหญิงณัฐชานันท์ ประภาสสันติกุล หัวหน้ากองเภสัชกรรม พร้อมบุคลากรและนักศึกษาเภสัชกร โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม เนื่องในโอกาสมาศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้งานด้านมาตรฐานการผลิตยาสมุนโพร กระบวนการผลิตยาที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน WHO-GMP ณ โรงงานผลิตยาสมุนไพรจัมปาศรี โรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อเป็นแนวทางพัฒนางานด้านเภสัชกรรมของหน่วยงาน 

  แพทย์หญิงจรัญญา  จุฬารี  รองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิ โรงยาบาลมหาสารคาม เปิดเผยว่า โรงงานผลิตยาสมุนไพรจัมปาศรี โรงพยาบาลมหาสารคาม  ผลิตยาสมุนไพรไทยด้วยมาตรฐานขั้นสูง  ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน WHO-GMP มีการควบคุมคุณภาพ ตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO 17025 ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงคุณภาพ สร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี 

  ปัจจุบันผลิตยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในการรองรับระบบบริการโรงพยาบาลมหาสารคาม และเครือข่าย 21 แห่ง ตลอดจนโรงพยาบาลในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 และใกล้เคียง มีศักยภาพผลิตทั้งยาน้ำ ยาใช้ภายนอก ยาแคปซูล/ยาตำรับ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่าง ๆ ทั้งหมดจำนวน 60 ชนิด  มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการคลัง และระบบการซื้อขายที่โปร่งใส ทันสมัย และสนับสนุนการใช้วัตถุดิบซึ่งเป็นพืชสมุนไพรโดยเน้นกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ จ.มหาสารคาม เป็นหลัก พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมโดยบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภายใต้โครงการพัฒนาเมืองสมุนไพรจังหวัดมหาสารคาม (Herbal City of Mahasarakham) 

  ด้านพันเอกหญิงณัฐชานันท์ ประภาสสันติกุล หัวหน้ากองเภสัชกรรม โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม เปิดเผยว่า โรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นโรงพยาบาลที่มีการผลิตยาสมุนไพรที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานขั้นสูง เป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลทั่วไป มีอาคาร อุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัยมีมาตรฐาน ทั้งยังมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญในด้านการผลิต และควบคุมคุณภาพ เป็นหน่วยงานที่เหมาะสมที่บุคลากรทางการแพทย์ ในสายงานเภสัชกรรมการผลิต สมควรเข้าศึกษาเรียนรู้ เพื่อเพิ่มพูนทักษะแลประสบการณ์ให้หน่วยงาน ตลอดจนถือเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือในอนาคตอีกด้วย 

รายงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรสเปรย์หญ้าดอกขาว

รายงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรสเปรย์หญ้าดอกขาว

ภก.อดิศักดิ์ ถมอุดทา
กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลมหาสารคาม

1. ที่มาและความสำคัญ
หญ้าดอกขาว มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Vernonia cinerea (L.) Less วงศ์ Asteraceae เป็นพืชเขตร้อน
ที่พบได้ทั่วไปในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละทอง
ถิ่น เช่น หมอน้อย หญ้าละอองดาว ก้านธูป ถั่วแฮะดิน ฝรั่งโคก เสือสามขา หญ้าสามวัน เซียวซัวเฮา เอกสาร
ข้อมูลในทางการแพทย์อายุรเวช นิยมใช้ชื่อ Sahadevi มากที่สุด

หญ้าดอกขาวจัดเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก ขนาดเล็ก มีอายุประมาณ 1-5 ปี สูง 1-5 ฟุต ลำต้นเป็นเหลี่ยมตั้ง
ตรงแตกกิ่งก้านน้อย มีขนนุ่ม ใบมีหลายรูป ทั้งรูปไข่รี ปลายและโคนแหลม ผิวใบค่อนข้างเรียบ มีขนนุ่ม ดอก
เล็กกลมเป็นพู่เป็นช่ออยู่ปลายยอดมีสีม่วงหรือชมพูผลแห้งขนาดเล็ก ปลายมีขนแห้งสีขาวเป็นพู่แตกบาน
เจริญได้ตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา ได้แก่ ลำต้น ใบ ดอก เมล็ด ราก ลำต้น ใช้ลำต้นแห้งน ามาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้
ปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ แผลบวมอักเสบ ใบ ใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกแผลช่วยสมาน หรือคั้นแล้ว
กรองเอาน้ าหยอดตาแก้ฝ้าฟาง ตาแดง ทาแก้กลากเกลื้อ เมล็ด ใช้เมล็ดแห้งมาป่นให้ละเอียด ชงกับน้ำร้อนเป็น
ยาขับพยาธิเส้นด้วย ปัสสาวะขัดบำรุงธาตุ ราก ใช้รากสดเอามาต้มเอาน้ำกินขับพยาธิ  ขับปัสสาวะ ช่วยเร่ง
คลอดและขับรกหลังคลอด ทั้งต้นและราก ตากแห้งบดเป็นผง รักษาแผลสด แผลเรื้อรัง ผิวหนังพุพอง ต้มกิน
แก้ปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ หรือตำพอกนมแก้นมคัด

ยาจากสมุนไพรหญ้าดอกขาว ถูกบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2554 มีข้อบ่งใช้เพื่อลดความ
อยากบุหรี่ โดยรับประทานครั้งละ 2 กรัม ชงในน้ าร้อนประมาณ 120-200 มิลลิลิตร หลังอาหารวันละ 3-4
ครั้ง และ สปสช. ประกาศรองรับให้ผู้มีสิทธิสามารถได้รับยานี้ภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ข้อ
ควรระวังของการใช้คือ ควรระวังในผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคไต เนื่องจากหญ้าดอกขาวมีโพแทสเซียมสูง ส่วน
อาการไม่พึงประสงค์คือทำให้ปากแห้ง คอแห้ง

เนื่องจากหญ้าดอกขาวในรูปแบบชาชงตามบัญชียาหลักแห่งชาตินั้น มีข้อจำกัดในการใช้ คือ
1. จำเป็นต้องใช้น้ำร้อนในการแช่ชาไว้สักครู่เพื่อให้ชาละลายก่อนใช้ดื่ม
2. ไม่สะดวกในการพกพา
3. สมุนไพรมีรสขมเฝื่อนและมีกลินเหม็นเขียวเนื่องจากไม่ได้มีการปรุงแต่งรส

ดังนั้นอาจทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากนัก ทำให้ประสิทธิภาพในการเลิกบุหรี่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
การพัฒนาตำรับให้ใช้งานง่ายขึ้น สะดวก พกพาสะดวก จึงเป็นที่มาของการพัฒนาต ารับสเปรย์หญ้าดอกขาว

 

Download อ่านข้อมูลฉบับเต็ม

รายงานการพัฒนาตำรับสเปรย์หญ้าดอกขาว2