การศึกษาทางด้านพฤกษเคมีจากสารสกัดเหง้าว่านเอ็นเหลือง

การศึกษาทางด้านพฤกษเคมีจากสารสกัดเหง้าว่านเอ็นเหลือง

เภสัชกรอดิศักดิ์ ถมอุดทา
เภสัชกรหญิงปริญา ถมอุดทา
โรงพยาบาลมหาสารคาม

 

บทนำและความสำคัญ
ว่านเอ็นเหลือง (Curcuma sp.) ถูกประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ.2556 ให้เป็น
ตัวยาตรงในตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณกลุ่มบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ข้อมูลทางด้าน
พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน (Ethnopharmacology) ใช้หัวว่านเป็นยารักษาโรคหลายขนาน แก้อัมพาต เหน็บ
ชา แก้ปวดเมื่อยตามข้อต่างๆ ในร่างกาย แก้มือตาย ตีนตาย รักษาโรคเหน็บชา โรคอันเกี่ยวกับเส้นเอ็นทั้ง
ปวง เส้นตรงที่ใดเคล็ด ช้ำบวม อัมพาต หรือไตพิการ เบาหวาน รักษาได้ระดับหนึ่ง โดยกินว่านนี้ด้วยวิธีต้ม
กินเป็นประจำใช้หัวว่านในปริมาณ 3 กิโลกรัม ต้มกับน้ำ 3 ส่วน แล้วเคี่ยวให้เหลือน้ำ 1 ส่วน กินก่อน
อาหาร 3 เวลา ข้อมูลทางลักษณะทางพฤกษศาสตร์หัวเป็นแง่งขนาดกลาง แตกเป็นแผง ทั้งสองด้านของ
ล าต้น และใต้ลำต้นแง่งแตกชิดติดกัน และเบียดกันแน่น เนื้อในของแง่งสีเหลือง มีกลิ่นหอมก้านใบสีเขียว
ด้านในเป็นร่องแคบและลึก ด้านนอกกลมนูน กาบใบสีเขียว โอบหุ้มกันเป็นลำ ใบ รูปรียาว ปลายใบ
แหลมเป็นติ่ง โคนใบทู่ เส้นกลางใบทางด้านบนเป็นร่องสีเขียวอ่อน ด้านล่างนูนเป็นสัน สีเขียวเช่นเดียวกับ
แผ่นใบ จากการที่ว่านเอ็นเหลืองได้ถูกประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขในปี 2556 ให้เป็นตัวยาตรงใน
ตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณกลุ่มบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่
จะต้องทำการศึกษาทางด้านพฤกษเคมี (phytochemistry) และการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ
(Bioassays) เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนทางด้านการประยุกต์ใช้สมุนไพรชนิดนี้สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์
จากสมุนไพรชนิดนี้เพื่อเพิ่มมูลค่า สร้างเศรษฐกิจฐานราก เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เป็นไปตามเจต
จานงมุ่งหมายของรัฐบาลที่ต้องการให้สมุนไพรไทยเป็นที่ นิยม ประชาชนรู้จัก เชื่อมั่น ชอบและใช้
การแพทย์แผนไทยและสมุนไพร

 

Download อ่านข้อมูลฉบับเต็ม

ReportVEL_01_04_61