โรงพยาบาลมหาสารคาม เปิดศูนย์ชีวาภิบาล และสถานชีวาภิบาล พร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริการด้านการดูแลประคับประคอง ตามนโนบายของกระทรวงสาธารณสุข
(27-12-2566) นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานเปิดเปิดศูนย์ชีวาภิบาลและสถานชีวาภิบาล
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ป่วยระยะท้าย มีการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขที่เชื่อมโยงบริการทางสังคมโดยการมีส่วนร่วมและการเชื่อมต่อระหว่างบ้าน ชุมชน หน่วยบริการ สถานบริการและศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ ดังนั้นโรงพยาบาลมหาสารคามจึงได้จัดตั้งศูนย์ชีวาภิบาลขึ้นเพื่อสนองนโยบายดังกล่าว และกำหนดเปิดบริการในทุกวันทำการ โดยกลุ่มเป้าหมาย มี 3 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่มี PPS น้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 คะแนน ผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิงที่มีค่า ADL น้อยกว่าหรือเท่ากับ 11 คะแนนผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะต้องได้รับการลงทะเบียน และได้รับการทำ ACP (Advance Care Planning) อย่างมีคุณภาพ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ป่วยระยะท้าย และผู้ดูแลในครอบครัว ภายใต้นโยบายของ ภาครัฐ ในร่มเงาของสถานชีวาภิบาล เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดภาระค่าเดินทาง ลดการรอคอย ครอบครัวไร้กังวล ลูกหลานวัยทำงานไม่เสียรายได้
โรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมกับสถาบันการศึกษาทางการพยาบาล ในจังหวัดมหาสารคาม จัดโครงการเพิ่มพูนศักยภาพ และการผลิตผลงานทางวิชาการและวิชาชีพของบุคลากรทางการพยาบาล
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดโครงการ Care D+ จ.มหาสารคาม
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดโครงการอบรมขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม (Care D+) จังหวัดมหาสารคาม มุ่งขับเคลื่อนบุคลากรสาธารณสุข ทำหน้าที่เป็นญาติเฉพาะกิจ มิตรภาพถาวร ทีมเชื่อมประสานใจ
ที่ห้องประชุมตักสิลา อาคารผู้ป่วยนอก ชั้น 4 โรงพยาบาลมหาสารคาม นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดโครงการอบรมขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม (Care D+) จังหวัดมหาสารคาม มุ่งพัฒนาศักยภาพการสื่อสารด้านสุขภาพ ให้บุคลากรสาธารณสุขทำหน้าที่เป็นญาติเฉพาะกิจ มิตรภาพถาวร ทีมเชื่อมประสานใจ พร้อมมอบเป็นของขวัญ ปีใหม่ที่กระทรวงสาธารณสุขจะมอบให้กับประชาชน โดยมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคามเป็นผู้กล่าวรายงาน มีนายแพทย์ภาคภูมิ นโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม และผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน บุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมจำนวนกว่า 500 คน
นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพการสื่อสารด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 13 Quick Win ที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดไว้ และจะต้องดำเนินงานให้เห็นผลสัมฤทธิ์ภายใน 100 วัน ซึ่งปัจจุบันนี้การดูแลสุขภาพพี่น้องประชาชน ไม่ใช่แค่การตรวจรักษา ให้ยา แล้วกลับบ้าน แต่สิ่งที่มีความสลับซับซ้อน มากกว่านั้น คือการดูแลเอาใจใส่ผู้มารับบริการที่กำลังอยู่ในภาวะเจ็บป่วย มีความเปราะบางทางอารมณ์ ที่มีความวิตกกังวล หวาดกลัว ท้อแท้ และสิ้นหวัง หากบุคคลเหล่านั้นได้รับการดูแลเอาใจใส่ ด้วยความเห็นอกเห็นใจ จนทำให้เกิดความมั่นใจในการได้รับการรักษา ก็จะทำให้เกิดความพึงพอใจในการรับบริการ
การจัดโครงการฯ ในครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้เข้าอบรมฯ ทุกคนจะได้พัฒนาศักยภาพทักษะด้านการสื่อสาร เพื่อช่วยสื่อสารและประสานใจให้แก่ ผู้ป่วย ญาติ และบุคลากรสาธารณสุข ด้วยความใส่ใจ ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ ต่อกัน ซึ่งเชื่อว่าทีม Care D+ จ.มหาสารคาม จะเป็นส่วนหนึ่งของการลดปัญหา ความขัดแย้ง สร้างความอุ่นใจ ความเชื่อมั่น ให้กับญาติ ผู้ป่วย เป็นอีกหนึ่งของขวัญปีใหม่ที่กระทรวงสาธารณสุขจะมอบให้กับประชาชน
ด้าน ดร.นพ.พิทักษ์พงศ์ พายุหะ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า จากข้อมูลรายงาน ปัญหาความขัดแย้งข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการขาดการสื่อสาร หรือการสื่อสารที่เข้าใจไม่ตรงกัน รวมทั้งการขาดเทคนิคในการบริหารจัดการในสถานการณ์วิกฤติ จนทำให้เกิด การร้องเรียน ฟ้องร้อง ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ ขวัญและกำลังใจของ บุคลากร
ทั้งนี้ จังหวัดมหาสารคาม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นการสื่อสารนี้ และตอบรับนโยบายการสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากร จึงได้ดำเนินการโครงการสร้างทีม Care D+ จังหวัดมหาสารคามขึ้น โดยมีบุคคลากรที่สมัครเข้าร่วมโครงการอบรม ขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม Care D+ ในครั้งนี้ ประกอบด้วย แพทย์ 8 คน, ทันตแพทย์ 6 คน, เภสัชกร 3 คน, พยาบาลวิชาชีพ 89 คน, นักวิชาการสาธารณสุข 38 คน, นักประชาสัมพันธ์ 5 คน และสหวิชาชีพ 17 คน จำนวนทั้งสิ้น 166 คน ครอบคลุมทุกอำเภอ โดยผู้ที่ผ่านการอบรมจะทำหน้าที่เป็นญาติเฉพาะกิจ มิตรภาพถาวร ทีมเชื่อมประสานใจ ในทุกหน่วยบริการสาธารณสุข ของจังหวัดมหาสารคาม เพื่อช่วยสื่อสารและประสานใจให้แก่ผู้ป่วย ญาติ และบุคลากร สาธารณสุข ด้วยความใส่ใจ ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจต่อกัน
?ขอสดุดีผู้วายชนม์ และครอบครัวผู้บริจาคอวัยวะและดวงตา?
?ขอสดุดีผู้วายชนม์ และครอบครัวผู้บริจาคอวัยวะและดวงตา?
บุญกุศลอันยิ่งใหญ่….รพ.มหาสารคาม ขอสดุดีผู้วายชนม์ และครอบครัวผู้บริจาคอวัยวะและดวงตา ที่ช่วยเหลือผู้ป่วยที่รอความหวังเปลี่ยนอวัยวะ โดยครั้งนี้ผู้ป่วยชายอายุ 57 ปี
ซึ่งมีมีภาวะเลือดออกในสมองจากอุบัติเหตุจราจร ต่อมาได้เสียชีวิต
ทั้งนี้ครอบครัวและญาติได้เข้าใจและยินยอมบริจาคดวงตาและอวัยวะทุกส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งสภากาชาดไทย ประเมินอวัยวะที่ใช้ได้ คือ ตับ ไต 2 ข้าง และ ดวงตา 2 ดวง ทีมผ่าตัดจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 เวลา 00.30 น. และรับอวัยวะเพื่อนำไปใช้ปลูกถ่ายช่วยชีวิตผู้ป่วยที่กำลังรอความหวัง ซึ่งถือเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ครั้งสุดท้าย ให้แก่ผู้วายชนม์
ในโอกาสนี้ นายแพทย์ประเสริฐ ศรีสารคาม รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมคณะ บุคลากรศูนย์รับบริจาคอวัยวะโรงพยาบาลมหาสารคาม และนางสุดารัตน์ แววบัณฑิต นายกเหล่ากาชาดจังหวัดมหาสารคาม และสมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกันมอบหรีดเคารพศพแก่ครอบครัวผู้บริจาคอวัยวะ เพื่อขอบพระคุณในบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ครั้งนี้
#บริจาคอวัยวะ #บริจาคดวงตา #โรงพยาบาลมหาสารคาม #สภากาชาด
โรงพยาบาลมหาสารคาม ประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 11-2566
(30-11-2566) ที่ห้องประชุมตักสิลา ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก นายแพทย์ภาคภูมิ นโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 11/2566 เพื่อติดตามผลการดำเนินงานในรอบเดือนที่ผ่านมา โดยมีคณะกรรมการบริหารร่วมประชุมรับฟังพร้อมนำนโยบายที่ได้รับถ่ายทอด นำสู่บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานต่างๆ เพื่อพัฒนางานด้านการให้บริการและด้านต่าง ๆ ของโรงพยาบาลมหาสารคาม
รพ.มหาสารคาม จัดกิจกรรม“วันแพทย์” เชิดชูเกียรติ เป็นขวัญกำลังใจแด่บุคลากรทางการแพทย์
รพ.มหาสารคาม ต้อนรับคณะศึกษาดูงานการผลิตยาสมุนไพรมาตรฐาน WHO-GMP
รพ.มหาสารคาม ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการผลิตยาสมุนไพรมาตรฐาน WHO-GMP จากโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม
แพทย์หญิงจรัญญา จุฬารี รองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิ โรงยาบาลมหาสารคาม ดร.ภก.อดิศักดิ์ ถมอุดทา เภสัชกรชำนาญการพิเศษ หัวหน้างานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พร้อมคณะบุคลากร ร่วมต้อนรับพันเอกหญิงณัฐชานันท์ ประภาสสันติกุล หัวหน้ากองเภสัชกรรม พร้อมบุคลากรและนักศึกษาเภสัชกร โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม เนื่องในโอกาสมาศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้งานด้านมาตรฐานการผลิตยาสมุนโพร กระบวนการผลิตยาที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน WHO-GMP ณ โรงงานผลิตยาสมุนไพรจัมปาศรี โรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อเป็นแนวทางพัฒนางานด้านเภสัชกรรมของหน่วยงาน
แพทย์หญิงจรัญญา จุฬารี รองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิ โรงยาบาลมหาสารคาม เปิดเผยว่า โรงงานผลิตยาสมุนไพรจัมปาศรี โรงพยาบาลมหาสารคาม ผลิตยาสมุนไพรไทยด้วยมาตรฐานขั้นสูง ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน WHO-GMP มีการควบคุมคุณภาพ ตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO 17025 ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงคุณภาพ สร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันผลิตยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในการรองรับระบบบริการโรงพยาบาลมหาสารคาม และเครือข่าย 21 แห่ง ตลอดจนโรงพยาบาลในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 และใกล้เคียง มีศักยภาพผลิตทั้งยาน้ำ ยาใช้ภายนอก ยาแคปซูล/ยาตำรับ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่าง ๆ ทั้งหมดจำนวน 60 ชนิด มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการคลัง และระบบการซื้อขายที่โปร่งใส ทันสมัย และสนับสนุนการใช้วัตถุดิบซึ่งเป็นพืชสมุนไพรโดยเน้นกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ จ.มหาสารคาม เป็นหลัก พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมโดยบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภายใต้โครงการพัฒนาเมืองสมุนไพรจังหวัดมหาสารคาม (Herbal City of Mahasarakham)
ด้านพันเอกหญิงณัฐชานันท์ ประภาสสันติกุล หัวหน้ากองเภสัชกรรม โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม เปิดเผยว่า โรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นโรงพยาบาลที่มีการผลิตยาสมุนไพรที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานขั้นสูง เป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลทั่วไป มีอาคาร อุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัยมีมาตรฐาน ทั้งยังมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญในด้านการผลิต และควบคุมคุณภาพ เป็นหน่วยงานที่เหมาะสมที่บุคลากรทางการแพทย์ ในสายงานเภสัชกรรมการผลิต สมควรเข้าศึกษาเรียนรู้ เพื่อเพิ่มพูนทักษะแลประสบการณ์ให้หน่วยงาน ตลอดจนถือเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือในอนาคตอีกด้วย
ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ชวนบริจาคโลหิต เพื่อต่อชีวิตมนุษย์
นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ร่วมบริจาคโลหิตเพื่อเป็นโลหิตสำรองไว้สำหรับรักษาผู้ป่วยภายในโรงพยาบาล และผู้ป่วยฉุกเฉิน ตลอดจนเตรียมความพร้อมให้มีโลหิตสำรอง เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วยทั้งในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและใกล้เคียง
ผู้ที่สนใจสามารถบริจาคได้ในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30 – 16.00 น. ที่ธนาคารเลือด ชั้น 2 อาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาสารคาม สอบถามเพิ่มเติม โทร. โทร.043723355 ต่อ 9118
โรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมด้วยเครือข่าย CUP เมือง ร่วมต้อนรับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ในโอกาสลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเครือข่ายบริการสุขภาพ
(17-11-2566) นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมด้วยผู้บริหาร ร่วมต้อนรับ ดร.นพ.พิทักษ์พงศ์ พายุหะ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ในโอกาสลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเครือข่ายบริการสุขภาพระดับ CUP เมือง เพื่อติดตามผล และมอบนโยบายในการดำเนินงาน ในด้านแผนยุทธศาสตร์ CUP และเป้าหมาย LE/HALE ของอำเภอ ปี 2567-2570 ข้อมูลบุคลากรของ CUP และจำนวนที่ขาดตามแผนบุคลากร เป้าหมายการพัฒนาระบบบริการของโรงพยาบาล ปี 2567-2570 แผนเงินบำรุงของโรงพยาบาล ผลงานเด่นของ CUP เมืองมหาสารคาม