รพ.มหาสารคาม และเครือข่ายสุขภาพออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

รพ.มหาสารคาม และเครือข่ายสุขภาพ ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ บริการสุขภาพผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง และประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม
แพทย์หญิงจรัญญา จุฬารี รองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลมหาสารคาม และทีมสหวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วยแพทย์ พยาบาลชุมชน เภสัชกร นักสังคมสงเคราห์ ทีม MCATT นักกายภาพบำบัด นักวิชาการสาธารณสุข และจิตอาสาของโรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมกับ เครือข่ายสุขภาพอำเภอเมืองมหาสารคาม ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ บริการสุขภาพประชาชนในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง กลุ่มเปราะบาง และประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม พร้อมมอบเวชภัณฑ์ สิ่งของบรรเทาทุกข์เบื้องต้นแก่พี่น้องประชาชนใน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านโขงกุดหวาย บ้านท่าค้อ บ้านบุ่งคล้าท่างาม และบ้านกุดเวียน ซึ่งอยู่ในพื้นที่ 3 ตำบล คือ ต.เกิ้ง  ต.ลาดพัฒนา และ ต.ท่าตูม อ.เมือง จ.มหาสารคาม

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) ติดตามการบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 และการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในพื้นที่

(11-10-2564) ที่ห้องประชุม จัมปาศรี ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหาร รพ.มหาสารคาม และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) โรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อติดตามสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ และติดตามความก้าวหน้าบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนมาตรการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อภายในโรงพยาบาลมหาสารคาม
ทั้งนี้ที่ประชุมได้แจ้งความคืบหน้าการดำเนินการฉีควัคซีนไฟเซอร์ เพื่อป้องกันไวรัสโควิด-19 แก่กลุ่มนักเรียนและเยาวชน อายุ 12 – 18 ปี ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองมหาสารคาม ปัจจุบันมีความคืบหน้าถึงร้อยละ 85 ของจำนวนเป้าหมาย นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้แจ้งเพื่อทราบว่า พื้นที่เขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม และ “วัดพุทธวนาราม” หรือ วัดป่าวังน้ำเย็น ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม ถูกกำหนดเป็นพื้นที่ COVID Free Setting ซึ่งเป็นมาตรการองค์กรหรือสถานที่ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่โรค ให้เปิดกิจการ จัดกิจกรรมได้อย่างปลอดภัยและยั่งยืนมหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) ติดตามการบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 และการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในพื้นที่
วัคซีน

รพ.มหาสารคาม ฉีดวัคซีนไฟเซอร์นักเรียน 12 ปีขึ้นไปเขตอำเภอเมือง สร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19

มหาสารคาม –ฉีดวัคซีนไฟเซอร์นักเรียน 12 ปีขึ้นไปเขตอำเภอเมือง สร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียนและเยาวชนสกัดโควิด-19
ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ได้จัดกิจกรรม ” KICK OFF สร้างเกราะป้องกันด้วยวัคซีน เด็กปลอดภัย เรียนอุ่นใจ ต้อนรับเปิดเทอม” หวัง สร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียนและเยาวชนในพื้นที่ของจังหวัดมหาสารคามปลอดภัย ก่อนที่จะมีการเปิดเทอมใหม่ในช่วยเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ โดยเป็นการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) ให้กับเด็กอายุ 12 -18 ปี อย่างเป็นทางการวันแรกพร้อมกันทั่วประเทศ โดยมี นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม มี นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม นายกฤต สุวรรณพรหม ศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม นายแพทย์ประเสริฐ ศรีสารคาม รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ โรงพยาบาลมหาสารคาม ผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษาของจังหวัดมหาสารคาม บุคลากรทางการแพทย์เข้าร่วม
ด้าน นายแพทย์ประเสริฐ ศรีสารคาม รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ โรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับ สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม และโรงพยาบาลมหาสารคาม ดำเนินการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ป้องกันโควิด-19 แก่นักเรียนที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี ที่สมัครใจฉีดวัคซีนและได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองมหาสารคามจำนวน 21,477 คน โดยในวันนี้เป็นนักเรียนกลุ่มแรกในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ซึ่งจะนัดในช่วงเดือนตุลาคม 2564 แบ่งเป็น นักเรียนจากโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามและนักเรียนจากโรงเรียนสารคามพิทยาคม รวมจำนวน 900 คน ซึ่งในเบื้องต้นให้นักเรียนชายฉีดวัคซีน 1 เข็ม ขณะที่นักเรียนหญิงจะให้ฉีดวัคซีน 2 เข็ม โดยเข็ม 1 และเข็ม 2 จะเว้นระยะเวลา 3 สัปดาห์ ตามแนวทางการฉีดวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุข
ในส่วนขั้นตอนการฉีดวัคซีน โรงพยาบาลมหาสารคาม ได้นำวัคซีนไฟเซอร์ที่ได้รับการจัดสรรจากกระทรวงสาธารณสุข จัดเก็บตามกระบวนการมาตรฐาน ควบคุมอุณหภูมิอยู่ที่ 2 – 8 องศาเซลเซียส และนำมาฉีดให้กับนักเรียนโดยมีแพทย์ พยาบาล เภสัชกรดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งก่อนและหลังการฉีดวัคซีน ตลอดจนได้ควบคุมอุณหภูมิสถานที่ฉีดวัคซีนที่ 25 องศาเซลเซียสอีกด้วย นอกจากนี้ โรงพยาบาลมหาสารคามขอความร่วมมือให้ผู้ได้รับการฉีดวัคซีน โปรดลงข้อมูลอาการไม่พึงประสงค์ในแอปพลิเคชัน “หมอพร้อม” เพื่อเป็นฐานข้อมูลรายงานติดตามอาการที่ไม่พึงประสงค์ ที่อาจจะเกิดกับผู้ที่รับวัคซีนไปแล้ว และผู้ได้รับการฉีดวัคซีน สามารถตรวจสอบข้อมูลหลักฐานการฉีดวัคซีนผ่าน “หมอพร้อม” ตลอดจนคำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังฉีดวัคซีนตลอดจนข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ได้อีกด้วย

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) ติดตามการบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) ติดตามการบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 และการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในพื้นที่
(20-9-2564) ที่ห้องประชุม จัมปาศรี ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหาร รพ.มหาสารคาม และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) โรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อติดตามสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ และติดตามความก้าวหน้าบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนมาตรการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อภายในโรงพยาบาลมหาสารคาม

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทานวัคซีน ซิโนฟาร์ม แก่หน่วยแพทย์ พอ.สว.มหาสารคาม

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทานวัคซีน ซิโนฟาร์ม แก่หน่วยแพทย์ พอ.สว.มหาสารคาม  บริการฉีดแก่ประชาชนผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ และ ผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบนัดวัคซีน รวม 2,500 คน สร้างภูมิคุ้มกันป้องกันโควิด-19

 

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ องค์ประธานกิตติมศักดิ์มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี (พอ.สว.) และองค์ประธานกรรมการมูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ ในพระอุปถัมภ์ฯ ทรงห่วงใยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในการนี้ ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” ในนามหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว ) พระราชทานให้ประชาชนชาวจังหวัดมหาสารคาม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันโควิด-19

โดยในวันนี้ (8 กันยายน 2564) ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ได้จัดกิจกรรมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. ให้บริการฉีดวัคซีนพระราชทาน ซิโนฟาร์ม แก่ประชาชนกลุ่มเปราะบางจังหวัดมหาสารคาม ได้แก่ ผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ และ ผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบนัดวัคซีน รวม 2,500 คน โดยมีการกระจายวัคซีนไปยังทุกอำเภอ เพื่อจัดบริการฉีดวัคซีนพระราชทาน พร้อมกันทั้งจังหวัด  โดยได้ดำเนินการ ร่วมกับการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว.

นายแพทย์ภาคภูมิ  มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า ในส่วนของหน่วยบริการฉีดวัคซีน ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม โดยการรับผิดชอบของโรงพยาบาลมหาสารคาม ได้ดำเนินการฉีดวัคซีนแก่ประชาชนจำนวน 500 คน และบริการฉีดวัคซีนแก่ผู้ป่วยบนรถ (drive thru) แก่ผู้ป่วยอัมพาตและผู้ป่วยอายุ 80 ปี จำนวน 5 คน พร้อมทั้งมีบริการฉีดวัคซีนเชิงรุก ให้แก่ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางในชุมชนต่าง ๆ  จำนวน 9 คน ที่ไม่สามารถเดินทางออกจากบ้านมารับบริการฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาลหรือหน่วยบริการฉีดวัคซีนได้ เพื่อลดอัตราการติดเชื้อและลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) ติดตามและบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19

(7-9-2564) ที่ห้องประชุมจัมปาศรี ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม   นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหาร รพ.มหาสารคาม  และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) โรงพยาบาลมหาสารคาม

โรงพยาบาลมหาสารคาม จัดบริการฉีดวัคซีนโดยไม่ต้องลงจากรถ (Drive thru)

โรงพยาบาลมหาสารคาม จัดบริการฉีดวัคซีนโดยไม่ต้องลงจากรถ (Drive thru)

ให้คนไข้ที่ต้องใช้อ๊อกซิเจนตลอดเวลา และเป็นคนไข้ที่ใช้การดูแลแบบประคับประคอง เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการบริการ

ผอ.รพ.มหาสารคาม ร่วมประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม ครั้งที่ 34/2564

6 -9-2564 นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม ครั้งที่ 34/2564 โดยมีคณะกรรมการฯ และหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด ที่เกี่ยวข้อง นายอำเภอ ทุกอำเภอ หัวหน้ากลุ่มงาน และบุคลากรในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม พร้อมทั้งได้มีการ VDO Conference ถึงนายอำเภอ ทุกอำเภอ ในจังหวัดมหาสารคามเข้าร่วมรับฟังการประชุม สถานการณ์โรค พร้อมทั้งชี้แจงประเด็นการประชุม เกี่ยวกับมาตรการป้องกันควบคุมโรคจังหวัด ณ ห้องประชุมบุษราคัม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม ตรวจเยี่ยมการบริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 และรับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มสุดท้ายในรอบเดือนสิงหาคม 2564

นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม นายแพทย์ประเสริฐ ศรีสารคาม รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ โรงพยาบาลมหาสารคาม ตรวจเยี่ยมการบริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19  ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์  กลุ่มชาวต่างชาติ ที่มีอายุเกิน60 ปี และหญิงตั้งครรภ์ไทย และกลุ่มผู้สูงอายุไทย ที่มีอายุตั้งแต่ 77-91 ปี ที่เคยได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 เป็น ซีโนแวคหรือ แอสตาราเซเนก้า ที่โรงพยาบาลมหาสารคาม จำนวน 28 คน

ทั้งนี้นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม นายแพทย์ประเสริฐ ศรีสารคาม รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ โรงพยาบาลมหาสารคาม ได้ให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ผู้ปฏิบัติงานบริการประชาชน ก่อนที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์โดสสุดท้าย เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันโควิด-19

โรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมกับเครือข่าย ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด -19 เชิงรุก เข็มแรก ให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

(2-9-2564)  ที่วัดเหนือแวงน่าง  ตำบลแวงน่าง อำเภอเมืองมหาสารคาม  นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม ลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจ บุคลากร และ อสม. ที่ปฏิบัติงาน ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด -19 เชิงรุก เข็มแรก ให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป  กลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป จำนวนกว่า 200 คน   และในเดือนนี้ ยังมีแผนออกให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด -19 เชิงรุก ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง ซึ่งได้แก่ ต.ลาดพัฒนา ต.เกิ้ง ต.ท่าตูม ต.ห้วยแอ่ง ต.เขวา ต.โคกก่อ ต.แก่งเลิงจาน และต.ท่าสองคอน อีกด้วย