ครอบครัวสุทินการยาง มอบเงิน 100,000 บาท สมทบทุนสร้างห้องผ่าตัดความดันลบ ให้แก่โรงพยาบาลมหาสาคาม

ครอบครัวสุทินการยาง มอบเงิน 100,000 บาท สมทบทุนสร้างห้องผ่าตัดความดันลบ ให้แก่โรงพยาบาลมหาสาคาม  โดยมีนายแพทย์ประเสริฐ ศรีสารคาม รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ  เป็นผู้รับมอบในครั้งนี้

 

 

การสำรวจอัตราชุกการติดเชื้อในโรงพยาบาล

โรงพยาบาลมหาสาคาม จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสำรวจอัตราชุกการติดเชื้อในโรงพยาบาล

การสำรวจอัตราชุกการติดเชื้อในโรงพยาบาล

(6-6-2562) ที่ห้องประชุมจัมปาศรี ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก  แพทย์หญิงจรัญญา จุฬารี รองผู้อำนวยการด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการสำรวจอัตราชุกการติดเชื้อในโรงพยาบาล ประจำปี 2562  เพื่อให้ทราบข้อมูลพื้นฐานของอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล ขนาดของปัญหา การแก้ไข ที่ทันต่อเหตุการณ์ โดยให้ผู้รับผิดชอบงาน มีความรู้ ทักษะ เพิ่มขึ้น ในการสำรวจอัตราชุกการติดเชื้อในโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง  สามารถปฏิบัติในการเฝ้าระวังการติดเชื้อ และวินิจฉัยการติดเชื้อได้ถูกต้องมากขึ้น มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และมีความพึงพอใจที่ดีต่อโครงการสำรวจอัตราชุกการติดเชื้อในโรงพยาบาล ซึ่งมีพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย (ICWN)  และ หัวหน้างานหัวหน้าหอผู้ป่วย/ ICWN หน่วยสนับสนุน เข้าร่วมประชุมกว่า 60 คน

การสำรวจอัตราชุกการติดเชื้อในโรงพยาบาล

นางบุษฐกาญจน์  สาระรัตน์ธนโชติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ โรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า การสำรวจอัตราความชุกของการติดเชื้อในโรงพยาบาล และประเมินประสิทธิภาพของการเฝ้าระวัง        การติดเชื้อในโรงพยาบาล เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้ได้รับทราบข้อมูลพื้นฐานของอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล ความสำคัญ ขนาดของปัญหา  การแก้ไขที่ทันต่อเหตุการณ์ และมีประสิทธิภาพในการลดอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล ใช้ประเมินความสำเร็จของการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลและกระตุ้นให้บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นอย่างดี

สืบเนื่องจากการสำรวจอัตราชุกการติดเชื้อในโรงพยาบาล ปีงบประมาณ 2561 ที่ผ่านมา พบว่า บางหอผู้ป่วย ยังไม่เข้าใจ และยังขาดความมั่นใจในการวินิจฉัยการติดเชื้อ ทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยการติดเชื้อ หรือวินิจฉัยการติดเชื้อไม่ถูกต้อง ประกอบกับภาระงานที่หนัก ไม่มีเวลาลงข้อมูลการติดเชื้อ ผู้รับผิดชอบงานลา หยุดพักเวร และการปรับเปลี่ยนผู้รับผิดชอบในหน่วยงาน ทำให้ข้อมูลการติดเชื้อไม่มีการบันทึก ไม่ต่อเนื่องหรือไม่ครบถ้วน สิ่งที่ต้องพัฒนา ได้แก่ หัวหน้าหอผู้ป่วย และ ICWN เข้าร่วมการสำรวจความชุกของการติดเชื้อปีละ 1 ครั้ง

ด้านบริหาร มีการนิเทศ ติดตาม การปฏิบัติงานของ ICWN อย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงานใหม่ หรือปรับเปลี่ยนงานใหม่  ด้านวิชาการ เพิ่มเติมการให้ความรู้ในการวินิจฉัยการติดเชื้อ เชื้อโรคต่างๆ ที่มีอยู่ในร่างกายของคน ให้แก่ ICWN ประจำหน่วยงาน  ด้านบริการ ส่งเสริมให้ ICWN ตระหนักถึงความสำคัญของการติดเชื้อในโรงพยาบาล การบันทึกข้อมูลให้ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน  ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์โรงพยาบาลมหาสารคาม จึงได้ทำโครงการฯนี้ขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพของ ICWN ในด้านการเฝ้าระวัง และการวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาล

การสำรวจอัตราชุกการติดเชื้อในโรงพยาบาล

การสำรวจอัตราชุกการติดเชื้อในโรงพยาบาล

การสำรวจอัตราชุกการติดเชื้อในโรงพยาบาล

การสำรวจอัตราชุกการติดเชื้อในโรงพยาบาล