รพ.มหาสารคาม ต้อนรับ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 และคณะ ในโอกาสตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ กระทรวงสาธารณสุข รอบที่ 2/2565

(19-8-2565) ณ ห้องประชุมตักสิลา ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมหาสารคาม   นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม  พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมต้อนรับ นายแพทย์สวัสดิ์ อภิวัจนีวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 พร้อมด้วยนายแพทย์อุดม ภู่วโรดม สาธารณสุขนิเทศก์ และคณะ ในโอกาสเดินทางมาตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ กระทรวงสาธารณสุข รอบที่ 2/2565 เพื่อมอบแนวทาง ข้อเสนอแนะการในการพัฒนาและแก้ไข ปัญหาการดำเนินงานสาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม

 

 

 

 

รพ.มหาสารคาม ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร ถวายพระราชกุศล และพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ

รพ.มหาสารคาม ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร ถวายพระราชกุศล และพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน
นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม คุณคนึงนิจ ศรีษะโคตร รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมคณะบุคลากร ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และทำบุญตักบาตร ถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2565
จากนั้นได้ร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน โดยมีนายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธี ณ วัดมหาชัยพระอารามหลวง ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม

รพ.มหาสารคาม ร่วมประชุมคณะกรมการจังหวัดมหาสารคาม ประจำเดือนกรกฎาคม 2565

รพ.มหาสารคาม ร่วมประชุมคณะกรมการจังหวัดมหาสารคาม หัวหน้าส่วนราชการ และนายอำเภอ ประจำเดือนกรกฎาคม 2565

 

นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมประชุมคณะกรมการจังหวัดมหาสารคาม หัวหน้าส่วนราชการ และนายอำเภอ ประจำเดือนกรกฎาคม 2565 ณ หอประชุมเทพาคาร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม โดยมีนายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานการประชุม  มีหัวหน้าส่วนราชการ และนายอำเภอ เข้าร่วมประชุม เพื่อหารือและร่วมพิจารณาผลการดำเนินงานในรอบเดือนที่ผ่านมากับส่วนราชการในจังหวัดมหาสารคาม

โดยวาระก่อนการประชุม นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล และเกียรติบัตร จากผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเชิดชูเกียรติและเป็นขวัญกำลังใจอีกด้วย (26 ก.ค.65)

รพ.มหาสารคาม ร่วมออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. ดูแลสุขภาพประชาชนพื้นที่ อ.นาดูน

นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมด้วยพร้อมคณะแพทย์ พยาบาล และบุคลากร ร่วมพิธีเปิดโครงการปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ และหน่วยบรรเทาทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน จ.มหาสารคาม (จังหวัดเคลื่อนที่) พร้อมมอบสิ่งของแก่ประชาชน และผู้สูงอายุพื้นที่อำเภอนาดูน
พร้อมออกหน่วยแพทย์อาสา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) ให้บริการประชาชนออกตรวจรักษาโรคทั่วไป โรคทางทันตกรรม สังคมสงเคราะห์ สุขภาพจิต และบริการแพทย์แผนไทย เป็นต้น ณ โรงเรียนกู่สันตรัตน์ ต. กู่สันตรัตน์ อ.นาดูน จ.มหาสารคาม โดยมีนายนายธัญญวัฒน์ ชาญพินิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธี (25-07-2565)

รพ.มหาสารคาม จัดโครงการ อย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคดูแล ห่วงใย ใส่ใจชุมชน ปี 2565

รพ.มหาสารคาม จัดโครงการ อย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคดูแล ห่วงใย ใส่ใจชุมชน ปี 2565

ที่ห้องประชุมตักสิลา อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานเปิดโครงการ อย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคดูแล ห่วงใย ใส่ใจชุมชน ปี 2565 โดยมีแพทย์หญิงจรัญญา จุฬารี รองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นผู้กล่าวรายงาน มีคณะครู นักเรียนโรงเรียนผดุงนารี อำเภอเมืองมหาสารคาม  และเครือข่ายบริการสุขภาพ รพ.สต./ศสม. อำเภอเมืองมหาสารคามเข้าร่วม

ทั้งนี้ โครงการ อย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคดูแล ห่วงใย ใส่ใจชุมชน ปี 2565 จัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการป้องกันควบคุมโรคและลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ พัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค (อย. น้อย) ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ   แก่เครือข่ายโรงเรียนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาโรงเรียนอาหารปลอดภัย (Food Safety School) และโรงเรียนยาปลอดภัย (RDU School) ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคยา อาหาร เครื่องสำอาง สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่ถูกต้อง

นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เปิดเผยว่า การดำเนินงาน อย. น้อย ในโรงเรียนและพัฒนาระดับความสำเร็จของเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค (อย. น้อย) ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพระดับอำเภอที่มีความเข้มแข็ง มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรอบรู้ ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องการบริโภค การเลือกซื้อและอ่านฉลากยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอาง อาหาร และสมุนไพร เพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เฝ้าระวังและจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์ไม่ปลอดภัยในโรงเรียนได้ และอีกประเด็นที่สำคัญ คือ การใช้ยาอย่างสมเหตุผลโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง (RDU Community) เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านยาสมเหตุผล (RDU Literacy) ให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและจัดการปัญหาด้านยาอย่างเป็นระบบและความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัย (Food Safety Literacy) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนในชุมชนเกิดการตื่นตัวในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องการบริโภค การเลือกซื้อและอ่านฉลากยา การเฝ้าระวังยาที่ไม่ปลอดภัยในชุมชน และในฐานะผู้บริโภคนักเรียนยังไม่เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ในเรื่องการปกป้องสิทธิของตนเอง วิธีการ กระบวนการ รวมถึงแนวปฏิบัติที่มีความเป็นไปได้แก่นักเรียนในการที่จะดำเนินการต่อเนื่อง ภายหลังจากตรวจสอบอาหาร ยา เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รวมพลังในการปกป้องสิทธิ ซึ่งจะเป็นประโยชน์นอกจากต่อตัวนักเรียนเองแล้วยังเป็นประโยชน์ต่อชุมชน และสังคมโดยรวมอีกด้วย เป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิต ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ตระหนักถึงผลเสียและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาต่อธุรกิจและภาพลักษณ์ของตนเอง

อำเภอเมืองมหาสารคาม  ในปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมามีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียน อย.น้อย จำนวน 77 แห่ง และผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานโรงเรียน อย.น้อย ดังนี้ โรงเรียนมัธยม จำนวน 8 แห่ง ผ่านเกณฑ์ระดับดีมาก จำนวน 7 แห่ง และระดับพอใช้ 1 แห่ง   โรงเรียนประถมจำนวน 53 แห่ง ผ่านเกณฑ์ระดับดีเยี่ยม จำนวน 1 แห่ง (โรงเรียน พระกุมารมหาสารคาม ) ระดับดีมากจำนวน 15 แห่ง ระดับดีจำนวน 34 แห่ง และระดับพอใช้ จำนวน 3 แห่ง  ด้านโรงเรียนประถมขยายโอกาส จำนวน 16 แห่ง ผ่านเกณฑ์ระดับดีมาก จำนวน 7 แห่ง  และผ่านเกณฑ์ระดับดีจำนวน 9

แพทย์หญิงจรัญญา จุฬารี รองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า งานคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลมหาสารคาม ให้ความสำคัญกับการดำเนินงาน อย.น้อย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียน อย.น้อย จะเป็นเครือข่ายที่ “ทรงพลัง” ในการเผยแพร่ความรู้ตลอดจนช่วยตรวจสอบอาหาร ยา เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมถึงรณรงค์ให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้แก่ อาหาร ยา และเครื่องสำอางที่เหมาะสมปลอดภัยมากขึ้น  ขยายจากโรงเรียนไปชุมชนใกล้เคียงและขยายผลไปทั่วประเทศ ซึ่งจะสร้างเสริมให้นักเรียนและประชาชนทั่วไป มีพฤติกรรมการบริโภคที่ดีต่อไปในอนาคต

 

 

 

รพ.มหาสารคาม สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงรอบเอวเกิน

รพ.มหาสารคาม โครงการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงรอบเอวเกิน (BMI มากกว่า 30) สำหรับบุคลากร  

ที่ห้องประชุมตักสิลา อาคารผู้ป่วยนอก ชั้น 4 โรงพยาบาลมหาสารคาม นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานปิดการอบรมโครงการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงรอบเอวเกิน (BMI มากกว่า 30) สำหรับบุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕

ทั้งนี้ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม ร่วมกับ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลและกลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลมหาสารคาม ได้จัดการอบรมโครงการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงรอบเอวเกิน สำหรับบุคลากร โรงพยาบาลมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ เพื่อให้บุคลากรกลุ่มเสี่ยงมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถนำไปปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง เหมาะสม ตามหลัก ๓ อ. ๒ ส. และเพื่อให้บุคลากรกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพตามหลัก ๓ อ. ๒ ส. ซึ่งการจัดอบรมในครั้งนี้ แบ่งเป็น ๒ รุ่น คือ รุ่นที่ ๑ วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๔ จำนวน ๖๔ คน, รุ่นที่ ๒ วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ จำนวน ๖๖ คน โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งหมดเป็นจำนวนทั้งสิ้น ๑๓๐ คน

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) ติดตามการบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ครั้งที่ 26/2565

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) ติดตามการบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ครั้งที่ 26/2565
(25-4-2565) ที่ห้องประชุมจัมปาศรี ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานการประชุมคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการเพื่อตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Emergency Operation Center) หรือ EOC โรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อติดตามสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ ตลอดจนการติดตามความก้าวหน้าบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประชาชนกลุ่มเป้าหมาย การป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นต้น

KICK OFF ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในเด็กอายุ 5-11 ขวบ

รพ.มหาสารคาม ระดมบุคลากรทางการแพทย์ ร่วมกิจกรรม KICK OFF ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในเด็กอายุ 5-11 ขวบ

ที่ศูนย์ฉีดวัคซีนโรงพยาบาลมหาสารคาม หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับ โรงพยาบาลมหาสารคาม  จัดกิจกรรม KICK OFF ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ สร้างเกราะป้องกันด้วยวัคซีนในเด็กอายุ 5 – 11 ปี จังหวัดมหาสารคาม “เด็กปลอดภัย เรียนอุ่นใจ ห่างไกลจากโรคโควิด-19” ขึ้น โดยกลุ่มเป้าหมายที่รับวัคซีนในวันนี้ ประกอบด้วย นักเรียนอายุ 5 – 11 ปี โรงเรียนอนุบาลกิติยา โรงเรียนหลักเมือง และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 1 จำนวนกว่า 300 คน และดำเนินการฉีดวัคซีน โดยบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลมหาสารคาม

นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เปิดเผยว่า จังหวัดมหาสารคาม เห็นถึงความสำคัญ การฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้เด็กอายุ 5 – 11 ปี จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นกลุ่ม เสี่ยงอีกกลุ่ม เนื่องจากพบผู้ป่วยโควิด-19 ในเด็กเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็กที่ได้รับเชื้อโควิด-19 จากคน ในครอบครัว ดังนั้น จึงขอความร่วมมือผู้ปกครองให้พาบุตรหลาน มารับการฉีดวัคซีนด้วยความสมัครใจเพื่อความปลอดภัย ลดความรุนแรงและการเสียชีวิตจากการป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผู้ปกครอง พ่อแม่ ควรหลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในสถานที่ ที่มีคนจำนวนมาก ไม่เพิ่มโอกาส ในการรับเชื้อ ขณะเดียวกัน ผู้ปกครองซึ่งต้องอยู่ใกล้ชิดเด็กขอให้เข้ารับวัคซีนครบโดส เพื่อลดโอกาสที่จะจำเชื้อมาสู่เด็กเล็กด้วย

ด้าน นายแพทย์ สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อป้องกันควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 และเร่งรัดการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งเป็นกลยุทธ์สำคัญในการตอบโต้การระบาดของโรค โดยในระยะแรกได้ให้วัคซีนโควิด-19 ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และมีการขยายกลุ่มเป้าหมายสำหรับเด็กอายุ 5 – 11 ปี โดยกลุ่มแรกที่จะได้รับวัคซีน มีดังนี้ 1) เด็กที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค 2) เด็ก ที่เป็นนักเรียนในระบบสถานศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 3) เด็กที่เรียนในระบบ Home School 4) เด็กที่ศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษาที่อยู่นอกระบบการศึกษา หรือเด็กที่ตกค้างและยังไม่ได้รับวัคซีน ความสำคัญที่ต้องฉีดวัคซีนในกลุ่มเด็ก เนื่องจากกลุ่มเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 แล้วไม่มีอาการ แต่หลังจาก 1 เดือน ให้หลัง เด็กอาจมีอาการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ ที่เรียกว่า Multisystem Inflammatory Syndrome in Children (MIS-C) ซึ่งอาจรุนแรงได้ โดยวัคซีน ที่ใช้สำหรับเด็ก ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คือ วัคซีนไฟเซอร์ ฝาสีส้มสูตรสำหรับเด็ก ฉีดในปริมาตร 0.2 ซีซี เพื่อความปลอดภัย และพบผลข้างเคียง ที่น้อยมาก ซึ่งในขณะนี้มีจำนวนประเทศต่าง ๆ ที่เริ่มวัคซีนให้เด็กมากขึ้น

รพ.มหาสารคาม ร่วมมอบสิ่งของ วันรวมน้ำใจให้กาชาด จ.มหาสารคาม

รพ.มหาสารคาม ร่วมมอบสิ่งของเพื่อเป็นรางวัลร้านมัจฉากาชาด ในงานวันรวมน้ำใจให้กาชาด จ.มหาสารคาม

นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม คุณคนึงนิจ ศรีษะโคตร รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล คุณกันตา คำพอ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร พร้อมคณะบุคลากร ร่วมงาน “วันรวมน้ำใจให้กาชาด” ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม พร้อมสิ่งของ มูลค่ารวม 20,000 บาท เพื่อสมทบเป็นรางวัลการออกร้านมัจฉากาชาด หารายได้สำหรับใช้จ่ายในกิจการสาธารณกุศล ตามภารกิจของเหล่ากาชาดจังหวัดมหาสารคาม และที่สภากาชาดไทยมอบหมาย

เตรียมจัดตั้งศูนย์บริการการเเพทย์แผนไทยและการเเพทย์ทางเลือก และบริการวิชาการ เขตสุขภาพที่ 7

รพ.มหาสารคาม ต้อนรับ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ในโอกาสลงพื้นที่หารือการจัดตั้งศูนย์บริการการเเพทย์แผนไทย และการเเพทย์ทางเลือก และบริการวิชาการ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สาขาเขตสุขภาพที่ 7 จังหวัดมหาสารคาม

นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ลงพื้นที่สำรวจและเป็นประธานการประชุมหารือการจัดตั้งศูนย์บริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก และบริการวิชาการกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สาขาเขตสุขภาพที่ 7 จังหวัดมหาสารคาม โดยมี นายแพทย์ภาคภูมิ  มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม บุคลากรจากกลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงงานผลิตยาสมุนไพรจัมปาศรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ ณ สวนสมุนไพรจัมปาศรี ต.แวงน่าง อ.เมือง จ.มหาสารคาม