รพ.มหาสารคาม ร่วมกิจกรรม กิจกรรม “รณรงค์การสร้างความรอบรู้ เพื่อคนมหาสารคามสุขภาพดี สู่เมืองเปี่ยมสุข” โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

 

ที่บริเวณสวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติฯ เทศบาลเมืองมหาสารคาม ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม แพทย์หญิงจรัญญา จุฬารี รองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลมหาสารคาม เข้าร่วม กิจกรรม “รณรงค์การสร้างความรอบรู้ เพื่อคนมหาสารคามสุขภาพดี สู่เมืองเปี่ยมสุข” โดยมีนายเกียรติศักดิ์  ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธาน เปิดกิจกรรม ซึ่งจัดขึ้นเพื่อส่งเสริม สนับสนุนและประสงค์ให้คนมหาสารคามมีสุขภาพดี มีภูมิคุ้มกันและมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในการป้องกันตนเองจากโรคระบาด และมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองได้มากยิ่งขึ้น เพิ่มคนสุขภาพดี ลดคนป่วย ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา โดยมีจุดมุ่งเน้นให้ประชาชนได้วัดสถานะสุขภาพ(Health Status) มีความตระหนักรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และปฏิบัติตนตามข้อกำหนดพื้นฐาน “สุขสารคามบัญญัติ 25 ข้อ”อันจะนำไปสู่ มหาสารคาม เมืองเปี่ยมสุข (Mahasarakham Full Health Destination) โดยมีกิจกรรมในงาน ประกอบด้วย

– การประกาศเจตนารมณ์ “ การสร้างความรอบรู้ เพื่อคนมหาสารคาม สุขภาพดี สู่เมืองเปี่ยมสุข”

– การจัดนิทรรศการ ได้แก่ การวัดองค์ประกอบร่างกาย(Body scan) นิทรรศการโมเดลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างสุขภาพ การทดสอบสมรรถภาพร่างกายแบบพื้นบ้าน การช่วยฟื้นคืนชีพ และการถอดบทเรียนการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

– การลงนามปฏิญาณตน งดเหล้า เข้าพรรษา

– กิจกรรมยืดเหยียดร่างกาย และเดิน วิ่ง ก้าวท้าใจ

 

ร่างประกาศประกวดราคาซื้อเครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญาณชีพ 6 พารามิเตอร์ ระบบรวมศูนย์ไม่น้อยกว่า 8 เตียง โรงพยาบาลมหาสารคาม ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 3 เครื่อง

ตามเอกสารแนบมาพร้อมนี้ร่างประกาศประกวดราคาซื้อเครื่องติดตาม (ครั้งที่ 3)

รพ.มหาสารคาม จัดโครงการ อย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคดูแล ห่วงใย ใส่ใจชุมชน ปี 2565

รพ.มหาสารคาม จัดโครงการ อย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคดูแล ห่วงใย ใส่ใจชุมชน ปี 2565

ที่ห้องประชุมตักสิลา อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานเปิดโครงการ อย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคดูแล ห่วงใย ใส่ใจชุมชน ปี 2565 โดยมีแพทย์หญิงจรัญญา จุฬารี รองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นผู้กล่าวรายงาน มีคณะครู นักเรียนโรงเรียนผดุงนารี อำเภอเมืองมหาสารคาม  และเครือข่ายบริการสุขภาพ รพ.สต./ศสม. อำเภอเมืองมหาสารคามเข้าร่วม

ทั้งนี้ โครงการ อย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคดูแล ห่วงใย ใส่ใจชุมชน ปี 2565 จัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการป้องกันควบคุมโรคและลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ พัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค (อย. น้อย) ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ   แก่เครือข่ายโรงเรียนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาโรงเรียนอาหารปลอดภัย (Food Safety School) และโรงเรียนยาปลอดภัย (RDU School) ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคยา อาหาร เครื่องสำอาง สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่ถูกต้อง

นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เปิดเผยว่า การดำเนินงาน อย. น้อย ในโรงเรียนและพัฒนาระดับความสำเร็จของเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค (อย. น้อย) ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพระดับอำเภอที่มีความเข้มแข็ง มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรอบรู้ ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องการบริโภค การเลือกซื้อและอ่านฉลากยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอาง อาหาร และสมุนไพร เพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เฝ้าระวังและจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์ไม่ปลอดภัยในโรงเรียนได้ และอีกประเด็นที่สำคัญ คือ การใช้ยาอย่างสมเหตุผลโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง (RDU Community) เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านยาสมเหตุผล (RDU Literacy) ให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและจัดการปัญหาด้านยาอย่างเป็นระบบและความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัย (Food Safety Literacy) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนในชุมชนเกิดการตื่นตัวในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องการบริโภค การเลือกซื้อและอ่านฉลากยา การเฝ้าระวังยาที่ไม่ปลอดภัยในชุมชน และในฐานะผู้บริโภคนักเรียนยังไม่เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ในเรื่องการปกป้องสิทธิของตนเอง วิธีการ กระบวนการ รวมถึงแนวปฏิบัติที่มีความเป็นไปได้แก่นักเรียนในการที่จะดำเนินการต่อเนื่อง ภายหลังจากตรวจสอบอาหาร ยา เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รวมพลังในการปกป้องสิทธิ ซึ่งจะเป็นประโยชน์นอกจากต่อตัวนักเรียนเองแล้วยังเป็นประโยชน์ต่อชุมชน และสังคมโดยรวมอีกด้วย เป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิต ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ตระหนักถึงผลเสียและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาต่อธุรกิจและภาพลักษณ์ของตนเอง

อำเภอเมืองมหาสารคาม  ในปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมามีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียน อย.น้อย จำนวน 77 แห่ง และผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานโรงเรียน อย.น้อย ดังนี้ โรงเรียนมัธยม จำนวน 8 แห่ง ผ่านเกณฑ์ระดับดีมาก จำนวน 7 แห่ง และระดับพอใช้ 1 แห่ง   โรงเรียนประถมจำนวน 53 แห่ง ผ่านเกณฑ์ระดับดีเยี่ยม จำนวน 1 แห่ง (โรงเรียน พระกุมารมหาสารคาม ) ระดับดีมากจำนวน 15 แห่ง ระดับดีจำนวน 34 แห่ง และระดับพอใช้ จำนวน 3 แห่ง  ด้านโรงเรียนประถมขยายโอกาส จำนวน 16 แห่ง ผ่านเกณฑ์ระดับดีมาก จำนวน 7 แห่ง  และผ่านเกณฑ์ระดับดีจำนวน 9

แพทย์หญิงจรัญญา จุฬารี รองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า งานคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลมหาสารคาม ให้ความสำคัญกับการดำเนินงาน อย.น้อย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียน อย.น้อย จะเป็นเครือข่ายที่ “ทรงพลัง” ในการเผยแพร่ความรู้ตลอดจนช่วยตรวจสอบอาหาร ยา เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมถึงรณรงค์ให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้แก่ อาหาร ยา และเครื่องสำอางที่เหมาะสมปลอดภัยมากขึ้น  ขยายจากโรงเรียนไปชุมชนใกล้เคียงและขยายผลไปทั่วประเทศ ซึ่งจะสร้างเสริมให้นักเรียนและประชาชนทั่วไป มีพฤติกรรมการบริโภคที่ดีต่อไปในอนาคต

 

 

 

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาประกวดราคาจ้างเหมาบริการขนย้ายขยะตดเชื้อไปทำลาย จำนวน 295,650 กิโลกรัม ประจำปีงบประมาณ 2565

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาจ้างเหมาบริการขนย้ายขยะ ปี 2565

รพ.มหาสารคาม สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงรอบเอวเกิน

รพ.มหาสารคาม โครงการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงรอบเอวเกิน (BMI มากกว่า 30) สำหรับบุคลากร  

ที่ห้องประชุมตักสิลา อาคารผู้ป่วยนอก ชั้น 4 โรงพยาบาลมหาสารคาม นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานปิดการอบรมโครงการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงรอบเอวเกิน (BMI มากกว่า 30) สำหรับบุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕

ทั้งนี้ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม ร่วมกับ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลและกลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลมหาสารคาม ได้จัดการอบรมโครงการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงรอบเอวเกิน สำหรับบุคลากร โรงพยาบาลมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ เพื่อให้บุคลากรกลุ่มเสี่ยงมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถนำไปปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง เหมาะสม ตามหลัก ๓ อ. ๒ ส. และเพื่อให้บุคลากรกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพตามหลัก ๓ อ. ๒ ส. ซึ่งการจัดอบรมในครั้งนี้ แบ่งเป็น ๒ รุ่น คือ รุ่นที่ ๑ วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๔ จำนวน ๖๔ คน, รุ่นที่ ๒ วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ จำนวน ๖๖ คน โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งหมดเป็นจำนวนทั้งสิ้น ๑๓๐ คน

ประกาศรายชื่อขึ้นบัญชีคัดเลือกเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ ตำเเหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

ประกาศรายชื่อขึ้นบัญชีคัดเลือกเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ ตำเเหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

ประกาศโรงพยาบาลมหาสารคาม เรื่อง รายชื่อข้าราชการผู้มีผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับดีเด่นและดีมากของโรงพยาบาลมหาสารคาม สาหรับรอบการประเมินวันที่ 1 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564

ประกาศดีเด่น-ดีมาก ลงเว็บ