โรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมกิจจกรรมจิตอาสา เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2567

(5-12-2567)  ที่สนามหน้าศูนย์ราชการจังหวัดมหาสารคาม  นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม มอบหมายให้ นายศิวกร แสนยะมาตย์ หัวหน้ากลุ่มงานบริหารทั่วไป พร้อมด้วยคณะบุคลากร เข้าร่วมกิจจกรรมจิตอาสา เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2567  โดยมีนายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานกิจกรรม มีประชาชนจิตอาสา และผู้แทนภาคส่วนต่างๆ เข้าร่วมทำความสะอาดและ ปรับปรุงภูมิทัศน์

 

เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ เพื่อเป็นการรวมความสมัครสมานสามัคคีของคนไทยทุกคน ในการทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ เพื่อพัฒนาพื้นที่ในชุมชนต่างๆ ให้มีความเจริญ เกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างถาวร ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ แห่งพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยและทรงคำนึงถึง ความอยู่ดีมีสุขของประชาชนเป็นสำคัญ

 

 

รพ.มหาสารคาม ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะ เนื่องในวันคล้ายวันพระบรม ราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2567

 

 

(5-12-2567) ที่หอประชุมจังหวัดมหาสารคาม  นายแพทย์ภาคภูมิ  มโนสิทธิศักดิ์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม  มอบหมายให้ นางกัญตา คำพอ  รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร เข้าร่วมพิธีถวายพานพุ่มราชสักการะ เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2566  โดยมี นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานพร้อมด้วย ศาล ทหาร ตำรวจ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน และประชาชนเข้าร่วมพิธี เพื่อร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน

    ตลอดระยะเวลา 70 ปี แห่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ปวงพสกนิกรใต้ร่มพระบารมีทั่วราชอาณาจักรต่างประจักษ์ซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณและพระเมตตา ที่ได้ทรงทุ่มเทกำลังพระวรกาย และกำลังพระสติปัญญา ปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขแห่งปวงพสกนิกร เป็นดั่งพ่อหลวงของชาวไทย จึงเป็นที่มาของ “วันพ่อแห่งชาติ” โดยประเทศไทยจัดวันพ่อแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 ซึ่งคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคม  ผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้คิดริเริ่ม กำหนดให้ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ซึ่งเป็นคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

    หลังจากนั้นเป็นต้นมาทุกวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีคือ “วันพ่อแห่งชาติ” เพื่อเทิดทูนพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 รวมถึงเป็นการให้ความสำคัญกับบทบาทของพ่อที่มีต่อสถาบันครอบครัวและสังคมไทย โดยคณะรัฐมนตรีกำหนดวันพ่อแห่งชาติให้เป็นวันหยุดราชการประจำปีในประเทศไทย

 

 

 

 

 

 

 

รพ.มหาสารคาม จัดกิจกรรมรณรงค์วันส้วมโลก ประจำปี พ.ศ. 2567

“ส้วมสะอาด ปลอดภัย ปลอดโรค” รพ.มหาสารคาม จัดกิจกรรมรณรงค์วันส้วมโลก ประจำปี พ.ศ. 2567
นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม มอบหมายให้คุณกัญตา คำพอ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมรณรงค์วันส้วมโลก ประจำปี พ.ศ. 2567 เพื่อสร้างความตระหนัก และส่งเสริมให้ผู้มารับบริการเห็นความสำคัญ และมีพฤติกรรมในการใช้ส้วมสาธารณะได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย และพัฒนาส้วมสาธารณะของโรงพยาบาลมหาสารคาม ให้เป็นไปตามมาตรฐานความสะอาด และความปลอดภัย อีกทั้งช่วยส่งเสริมให้พนักงานทำความสะอาดในโรงพยาบาล สามารถปฏิบัติตนตามแนวทางการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล ขณะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย โดยมีนายศิวกร แสนยะมาตย์ หัวหน้ากลุ่มงานบริหารทั่วไปเป็นผุู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์และรูปแบบการจัดกิจกรรม ณ บริเวณลานหน้าห้องน้ำสาธารณะหลังอาคาร 60 ปี โรงพยาบาลมหาสารคาม
โดยมีผุ้เข้าร่วมงานประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม จำนวน 30 คน บุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคาม ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มงาน หัวหน้างาน หัวหน้าหอผู้ป่วย และพนักงานทำความสะอาด จำนวน 30 คน และผู้รับบริการและญาติผู้ป่วย
ในโอกาสนี้คุณกัญตา คำพอ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ได้ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และบุคลากร ณรงค์การใช้ส้วมสาธารณะที่ถูกต้อง และการล้างมือที่ถูกวิธี 7 ขั้นตอน และได้มอบป้ายประชาสัมพันธ์การใช้ส้วมสาธารณะที่ถูกต้อง แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม และมอบรางวัลการแข่งขันทักษะการทำความสะอาดห้องน้ำให้แก่หน่วยงาน โดยหน่วยงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศได้แก่ PCT ศัลยกรรม ชนะเลิศอันดับ 2 PCT เด็ก ชนะเลิศอันดับ 3 หน่วนงานผู้ป่วยนอกและหน่วยงานห้องผ่าตัด

ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ขั้นสายสะพาย ประจำปี 2565 และประจำปี 2566

ที่ห้องประชุมตักสิลา ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามเป็นประธาน ในพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2565 และประจำปี 2566 เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของข้าราชการในสังกัดโรงพยาบาลมหาสารคาม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

โดยผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในครั้งนี้รวมทั้งสิ้นจำนวน 33 ราย  โดยแบ่งเป็นผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 2565 ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย จำนวน 19 ราย และประจำปี 2565 ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก จำนวน 1 ราย ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทยจำนวน 13 ราย

 

 

 

 

รพ.มหาสารคาม ร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะ เนื่องในวันพ่อขุมรามคำแหงมหาราช

(17-1-2567  )ที่หอประชุมจังหวัดมหาสารคาม  นางกันตา คำพอ  รองผู้อำนวยฝ่ายบริหาร โรงพยาบาลมหาสารคาม เข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะ เนื่องในวันพ่อขุมรามคำแหงมหาราช  โดยมี นายนพสิทธิ์  อุดมสุวรรณกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะ เนื่องในวันพ่อขุมรามคำแหงมหาราช เพื่อน้อมรำลึกถึงพระเกียรติคุณ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช  นำหัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนจากส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชนเข้าร่วมพิธี พร้อมกันนี้ โรงพยาบาลยังได้นำบุคลากรร่วมออกหน่วยปฐมพยาบาล เพื่อดูแลผู้ที่มาร่วมพิธีในอีกด้วย
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง กรุงสุโขทัย ทรงทำนุบำรุงปกครองบ้านเมืองด้วยพระเมตตาธรรมต่อไพร่ฟ้า อาณาประชาราษฎร์ทรงสร้างสรรค์มรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญๆ ของชาติไว้อย่างอเนกอนันต์มรดกของชาติที่สำคัญที่สุดก็คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 1826 อันเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยที่ใช้กันในทุกวันนี้ นอกจากนี้พระองค์ท่านยังได้ทรงรวบรวมแคว้นต่างๆ เข้าด้วยกันจนเป็นราชอาณาจักรไทยที่กว้างใหญ่ไพศาลกว่าทุกยุคสมัยที่ผ่านมา พระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประโยชน์แก่ประเทศชาติของพระองค์ท่านล้วนแต่เป็นการวางรากฐาน แห่งความเจริญไว้ให้แก่ประเทศชาติและปวงชนชาวไทยทุกคนสืบทอดต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนานมากว่า 718 ปี

รพ.มหาสารคาม  เปิดคลินิกอาชีวเวชกรรม คลินิกตรวจสุขภาพ โฉมใหม่ สวยงาม ทันสมัย  

 

 

(10-01-2567) นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานเปิดห้องตรวจใหม่ คลินิกอาชีวเวชกรรม คลินิกตรวจสุขภาพ โดยตั้งอยู่ภายในอาคารมูลนิธิโรงพยาบาลมหาสารคาม  ซึ่งการปรับปรุงห้องตรวจคลินิกอาชีวเวชกรรม และคลินิกตรวจสุขภาพใหม่นี้ เป็นการพัฒนาศักยภาพรูปแบบจัดบริการเชิงรับให้มีความทันสมัย กระตุ้นความสนใจและการเข้าถึงบริการของกลุ่มเป้าหมายด้วยเทคโนโลยีสอดคล้องกับนโยบายโรงพยาบาลอัจฉริยะ Smart Hospital ของกระทรวงสาธารณสุข และเพิ่มรายได้ให้กับโรงพยาบาลเทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทสำคัญในยุคสมัยใหม่มากขึ้น ทำให้โรงพยาบาลมหาสารคามพัฒนาสู่การเป็นโรงพยาบาลอัจฉริยะ หรือ smart Hospital เพราะได้นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้เกิดความสะดวกสบายในการให้บริการทางสุขภาพ หรือ Smart  Tools  การให้ความสำคัญกับสถานที่ให้บริการที่ต้องสะอาด ปลอดภัย สวยงาม และทันสมัย หรือ Smart place  รวมไปถึงการบริหารจัดการระบบต่างๆ ภายในโรงพยาบาล ช่วยให้เกิดการประหยัดเวลา ลดขั้นตอนการทำงาน และเกิดความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น หรือ smart Service และเชื่อมโยงข้อมูลการบริการและการเรียกเก็บค่าบริการที่มีประสิทธิภาพหรือ smart Outcome ดังเช่นการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการจัดบริการในคลินิกอาชีวเวชกรรม และคลินิตรวจสุขภาพแห่งนี้

 

โรงพยาบาลมหาสารคาม ประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 12-2566

(27-12-2566) ที่ห้องประชุมตักสิลา ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก นายแพทย์ภาคภูมิ นโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 12/2566 เพื่อติดตามผลการดำเนินงานในรอบเดือนที่ผ่านมา โดยมีคณะกรรมการบริหารร่วมประชุมรับฟังพร้อมนำนโยบายที่ได้รับถ่ายทอด นำสู่บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานต่างๆ เพื่อพัฒนางานด้านการให้บริการและด้านต่าง ๆ ของโรงพยาบาลมหาสารคาม

โรงพยาบาลมหาสารคาม  เปิดศูนย์ชีวาภิบาล และสถานชีวาภิบาล พร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริการด้านการดูแลประคับประคอง ตามนโนบายของกระทรวงสาธารณสุข

 

(27-12-2566)  นายแพทย์ภาคภูมิ  มโนสิทธิศักดิ์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม  เป็นประธานเปิดเปิดศูนย์ชีวาภิบาลและสถานชีวาภิบาล

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ป่วยระยะท้าย มีการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขที่เชื่อมโยงบริการทางสังคมโดยการมีส่วนร่วมและการเชื่อมต่อระหว่างบ้าน ชุมชน หน่วยบริการ สถานบริการและศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ ดังนั้นโรงพยาบาลมหาสารคามจึงได้จัดตั้งศูนย์ชีวาภิบาลขึ้นเพื่อสนองนโยบายดังกล่าว และกำหนดเปิดบริการในทุกวันทำการ โดยกลุ่มเป้าหมาย มี 3 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่มี PPS น้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 คะแนน ผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิงที่มีค่า ADL น้อยกว่าหรือเท่ากับ 11 คะแนนผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะต้องได้รับการลงทะเบียน และได้รับการทำ ACP (Advance Care Planning) อย่างมีคุณภาพ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ป่วยระยะท้าย และผู้ดูแลในครอบครัว ภายใต้นโยบายของ ภาครัฐ ในร่มเงาของสถานชีวาภิบาล เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดภาระค่าเดินทาง ลดการรอคอย ครอบครัวไร้กังวล ลูกหลานวัยทำงานไม่เสียรายได้

 

โรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมกับสถาบันการศึกษาทางการพยาบาล ในจังหวัดมหาสารคาม จัดโครงการเพิ่มพูนศักยภาพ และการผลิตผลงานทางวิชาการและวิชาชีพของบุคลากรทางการพยาบาล

(12-12-2566) ห้องประชุมตักสิลาชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม นางวไลพร ปักเคระกา รองผู้อำนวยการ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการเพิ่มพูนศักยภาพ และการผลิตผลงานทางวิชาการและวิชาชีพของบุคลากรทางการพยาบาล โดยเป็นความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลมหาสารคาม และคณาจารย์สถาบันการศึกษาทางการพยาบาลในจังหวัดมหาสารคาม เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพและการผลิตผลงานทางวิชาการของบุคลากรทางการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาลให้มีคุณภาพ จำเป็นต้องมีการแสวงหาความรู้เชิงประจักษ์ จึงจะนำไปสู่การตัดสินใจทางการพยาบาลได้อย่างถูกต้อง เพิ่มคุณภาพการบริการที่ดีต่อผู้รับบริการ การผลิตผลงานวิชาการที่อ้างอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยใช้กระบวนการวิจัยจึงเป็นวิธีการหาคำตอบอย่างเป็นระบบที่พยาบาลควรจะนำมาเป็นแนวทางในการค้นหา วิเคราะและรวบรวมเป็นองค์ความรู้ด้านการพยาบาล ที่มีคุณภาพ เพื่อให้สามารถนำไปพิจารณาแก้ปัญหาการปฏิบัติการพยาบาลหน้างาน ในหน่วยงานของตนเองได้ให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 100 คน

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดโครงการ Care D+ จ.มหาสารคาม

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดโครงการอบรมขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม (Care D+) จังหวัดมหาสารคาม มุ่งขับเคลื่อนบุคลากรสาธารณสุข ทำหน้าที่เป็นญาติเฉพาะกิจ มิตรภาพถาวร ทีมเชื่อมประสานใจ

ที่ห้องประชุมตักสิลา อาคารผู้ป่วยนอก ชั้น 4 โรงพยาบาลมหาสารคาม นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดโครงการอบรมขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม (Care D+) จังหวัดมหาสารคาม มุ่งพัฒนาศักยภาพการสื่อสารด้านสุขภาพ ให้บุคลากรสาธารณสุขทำหน้าที่เป็นญาติเฉพาะกิจ มิตรภาพถาวร ทีมเชื่อมประสานใจ พร้อมมอบเป็นของขวัญ ปีใหม่ที่กระทรวงสาธารณสุขจะมอบให้กับประชาชน โดยมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคามเป็นผู้กล่าวรายงาน มีนายแพทย์ภาคภูมิ นโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม และผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน บุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมจำนวนกว่า 500 คน

นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพการสื่อสารด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 13 Quick Win ที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดไว้ และจะต้องดำเนินงานให้เห็นผลสัมฤทธิ์ภายใน 100 วัน ซึ่งปัจจุบันนี้การดูแลสุขภาพพี่น้องประชาชน ไม่ใช่แค่การตรวจรักษา ให้ยา แล้วกลับบ้าน แต่สิ่งที่มีความสลับซับซ้อน มากกว่านั้น คือการดูแลเอาใจใส่ผู้มารับบริการที่กำลังอยู่ในภาวะเจ็บป่วย มีความเปราะบางทางอารมณ์ ที่มีความวิตกกังวล หวาดกลัว ท้อแท้ และสิ้นหวัง หากบุคคลเหล่านั้นได้รับการดูแลเอาใจใส่ ด้วยความเห็นอกเห็นใจ จนทำให้เกิดความมั่นใจในการได้รับการรักษา ก็จะทำให้เกิดความพึงพอใจในการรับบริการ
การจัดโครงการฯ ในครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้เข้าอบรมฯ ทุกคนจะได้พัฒนาศักยภาพทักษะด้านการสื่อสาร เพื่อช่วยสื่อสารและประสานใจให้แก่ ผู้ป่วย ญาติ และบุคลากรสาธารณสุข ด้วยความใส่ใจ ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ ต่อกัน ซึ่งเชื่อว่าทีม Care D+ จ.มหาสารคาม จะเป็นส่วนหนึ่งของการลดปัญหา ความขัดแย้ง สร้างความอุ่นใจ ความเชื่อมั่น ให้กับญาติ ผู้ป่วย เป็นอีกหนึ่งของขวัญปีใหม่ที่กระทรวงสาธารณสุขจะมอบให้กับประชาชน

ด้าน ดร.นพ.พิทักษ์พงศ์ พายุหะ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า จากข้อมูลรายงาน ปัญหาความขัดแย้งข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการขาดการสื่อสาร หรือการสื่อสารที่เข้าใจไม่ตรงกัน รวมทั้งการขาดเทคนิคในการบริหารจัดการในสถานการณ์วิกฤติ จนทำให้เกิด การร้องเรียน ฟ้องร้อง ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ ขวัญและกำลังใจของ บุคลากร

ทั้งนี้ จังหวัดมหาสารคาม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นการสื่อสารนี้ และตอบรับนโยบายการสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากร จึงได้ดำเนินการโครงการสร้างทีม Care D+ จังหวัดมหาสารคามขึ้น โดยมีบุคคลากรที่สมัครเข้าร่วมโครงการอบรม ขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม Care D+ ในครั้งนี้ ประกอบด้วย แพทย์ 8 คน, ทันตแพทย์ 6 คน, เภสัชกร 3 คน, พยาบาลวิชาชีพ 89 คน, นักวิชาการสาธารณสุข 38 คน, นักประชาสัมพันธ์ 5 คน และสหวิชาชีพ 17 คน จำนวนทั้งสิ้น 166 คน ครอบคลุมทุกอำเภอ โดยผู้ที่ผ่านการอบรมจะทำหน้าที่เป็นญาติเฉพาะกิจ มิตรภาพถาวร ทีมเชื่อมประสานใจ ในทุกหน่วยบริการสาธารณสุข ของจังหวัดมหาสารคาม เพื่อช่วยสื่อสารและประสานใจให้แก่ผู้ป่วย ญาติ และบุคลากร สาธารณสุข ด้วยความใส่ใจ ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจต่อกัน