
รพ.มหาสารคาม สดุดีผู้บริจาคอวัยวะ เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์




นายแพท์ประเสริฐ ศรีสารคาม รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานเปิด “อบรมพัฒนาบุคลากรก่อนประจำการ ปีงบประมาณ 2567 รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 3 – 6 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารจอดรถ โรงพยาบาลมหาสารคาม โดยมีแพทย์หญิงกิติยา ติยาภักดิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล ในนามของผู้จัดการโครงการอบรมเป็นผู้กล่าวรายงาน
ทั้งนี้กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดงาน มุ่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจในแนวทางการปฏิบัติงาน แนวทางการประสานงาน การทำงานเป็นทีม และให้บุคลากรใหม่รู้ระเบียบวินัย รวมทั้งสิทธิประโยชน์ สวัสดิการและการพัฒนาบุคลากรในการทำงานภายในโรงพยาบาลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการอบรมครั้งนี้ มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมเป็นบุคลากรใหม่ใน 14 ตำแหน่ง จำนวน 82 คน โดยผู้เข้าอบรมจะได้รับฟังแนวทางการปฏิบัติงานและอบรมเชิงปฏิบัติการ (03-10-66)
กิจกรรมโครงการลดความเสี่ยงเดิม ป้องกันความเสี่ยงใหม่ สู่สังคมเท่าทันภัย ด้วยแผน ปภ.จังหวัด
วันที่ 6 กันยายน 2566 เวลา 08.30 น. นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม มอบหมายให้นางกัญตา คำพอ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร พร้อมด้วยกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และกลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน นำทีมโดยนางวิไลกูล ครองยุทธ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นายปิยะวัฒน์ ศรีวงษา นักฉุกเฉินการแพทย์ และนางสาวแคทริยา ปัญญะศรี จพง.สาธารณสุขชำนาญงาน ร่วมกิจกรรมโครงการลดความเสี่ยงเดิม ป้องกันความเสี่ยงใหม่ สู่สังคมเท่าทันภัย ด้วยแผน ปภ.จังหวัด ณ ห้องประชุมพระบรมพระธาตุนาดูน ศาลากลาง จังหวัดมหาสารคาม โดยมีนายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามเป็นประธาน
โรงพยาบาลมหาสารคาม เตรียมพร้อมนำเสนอรับเยี่ยมสำรวจเพื่อเตรียมความพร้อมกอ่นการรับรองสถานพยาบาลขั้นก้าวหน้า Advanced HA
ที่ห้องประชุมตักสิลา ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมหาสารคาม นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานในการการประชุมซ้อมการนำเสนอรับเยี่ยมสำรวจเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนรับรองสถานพยาบาลขั้นก้าวหน้า Advanced HA ซึ่งมีคณะผู้บริหาร และผู้รับผิดชอบงานร่วมซักซ้อมการนำเสนอ เพื่อเป็นไปตามมาตรฐานที่ใช้ในการพัฒนา และประเมินกระบวนการคุณภาพของหน่วยบริการสุขภาพ เพื่อให้องค์กรที่จะยกระดับการพัฒนาสู่การขอรับรองขั้นก้าวหน้า (Advanced HA) ต่อไป
รพ.มหาสารคาม และเครือข่าย รับการประเมินผลการปฏิบัติราชการระดับอำเภอ (KPIs) ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม
(6-9-2566) นายแพทย์ประเสริฐ ศรีสารคาม รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม พพร้อมด้วยด้วยคณะผู้บริหาร และบุคลากร ร่วมต้อนรับ ดร.นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม และคณะ ในโอกาสเยี่ยมประเมินผลการปฏิบัติราชการหน่วยงานระดับอำเภอ ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ 2566 จำนวน เพื่อติดตามการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ระดับอำเภอ และนำผลจากการประเมินเป็นข้อมูลในการพัฒนางานสาธารณสุขในพื้นที่ และเพื่อให้การออกประเมินผลการปฏิบัติราชการระดับอำเภอ (KPIs) ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม
รพ.มหาสารคาม พัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการอ่านและแปลผลภาพถ่ายจอประสาทตา มุ่งลดภาวะการสูญเสียการมองเห็น และชะลอพิการตาบอดอย่างถาวร ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา
นายแพทย์ประเสริฐ ศรีสารคาม รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมโครงการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการอ่านและแปลผลภาพถ่ายจอประสาทตา เพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสาธารณสุขให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการอ่านและแปลผลภาพถ่ายจอประสาทตา การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา สามารถคัดกรองสายตาเบื้องต้น และส่งต่อจักษุแพทย์ได้เหมาะสม อีกทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาเครือข่าย และประสานการทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยมี แพทย์หญิง เพียงใจ ลวกุล หัวหน้ากลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุมตักสิลา ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม
แพทย์หญิงเพียงใจ ลวกุล หัวหน้ากลุ่มงานจักษุวิทยาโรงพยาบาลมหาสารคาม เปิดเผยว่า โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา เป็นปัญหาสำคัญในผู้ป่วยเบาหวานที่พบได้บ่อย ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีและเป็นสาเหตุ ที่ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นอย่างรุนแรงและถาวร การรักษาที่ถูกต้องในช่วงเวลา ที่เหมาะสม จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องสูญเสียสายตาและสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพของการมองเห็นให้ดีขึ้น และกลับมาทำงานได้ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาจักษุ ได้มีการพัฒนาระบบบริการโดยมีตัวชี้วัดในการพัฒนา ตรวจจอประสาทตาผู้ป่วยเบาหวานเพื่อการคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ด้วยการถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายจอประสาทตา (Fundus camera) เป้าหมายร้อยละ 60 เพื่อค้นหาผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตาให้เข้าสู่ระบบการรักษาให้ทันเวลา ผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตาได้รับการยิงเลเซอร์ภายใน 30 วัน เป้าหมายร้อยละ80 ลดความพิการหรือลดความรุนแรงของโรค และเพื่อการสอดคล้องกับการตรวจราชการประเด็น Area base ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ จึงได้มีการจัดประชุมวิชาการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการอ่านและแปลผลภาพถ่ายจอประสาทตา โดยให้ความสำคัญและเน้นการคัดกรอง และส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็ว ตลอดจนการคัดกรองประเมินโรคทางด้านจักษุให้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูการมองเห็นได้ดียิ่งขึ้น กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลมหาสารคาม จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการอ่านและแปลผลภาพถ่ายจอประสาทตา โดยได้รับความอนุเคราะห์งบประมาณจากเขตสุขภาพที่ 7 วิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลมหาสารคาม และมีผู้เข้าร่วมอบรมในโครงการฯ คือ บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องทั้งจากโรงพยาบาลมหาสารคาม โรงพยาบาลชุมชน และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
ด้าน นายแพทย์ประเสริฐ ศรีสารคาม รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชาชน ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มโรคนี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเป็นพิเศษ ด้วยครุภัณฑ์การแพทย์ที่เหมาะสม และบุคลากรที่มีศักยภาพ มีความชำนาญเฉพาะทาง และต้องอาศัยการทำงานเป็นเครือข่ายบริการ เพื่อการพัฒนางานที่มีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การลดภาวะการสูญเสียการมองเห็น และชะลอพิการตาบอด อย่างถาวร ภายใต้การดูแลจากบุคลากรและเครือข่ายบริการที่มีคุณภาพ ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้เข้ารับการประชุมจะได้นำแนวทางความรู้และทักษะไปใช้ เพื่อพัฒนางานบริการสาขาจักษุให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป