โรงพยาบาลมหาสารคาม

ต้อนรับตรวจประเมินศูนย์โรคหลอดเลือดสมองมาตรฐาน กระทรวงสาธารณสุข (Standard Stroke Center Certification : SSCC )

ที่ห้องประชุมจัมปาศรี ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม   นายแพทย์ภาคภูมิ  มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานกล่าวต้อนรับ ทีมเยี่ยมตรวจประเมินศูนย์โรคหลอดเลือดสมองมาตรฐาน กระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 2  (Standard Stroke Center Certification : SSCC ) ภายใต้โครงการพัฒนาบริการโรคหลอดเลือดสมองเพื่อลดอัตราตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งประกอบด้วย โดย ศ.นพ. สมศักดิ์ เทียมเก่า นายแพทย์ ธน ธีรวรวงศ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ พว.ชัยยุทธ โคตะรักษ์ พยาบาลวิชาชพชำนาญการพิเศษ พว.กิตติมา ดงอุทิศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โดยมีแพทย์ พยาบาล และผู้เกี่ยวข้องด้านการดำเนินงานต้านการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมต้อนรับและให้ข้อมูล

 

ทั้งนี้คณะทำงานของโรงพยาบาลได้พา ศ.นพ. สมศักดิ์ เทียมเก่า และทีมตรวจประเมินลงเยี่ยมสำรวจหน่วยงาน อาทิ ห้องฉุกเฉิน ห้องกายภาพบำบัด และหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และขอรับคำแนะนำในการดำเนินงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยของโรงพยาบาลมหาสารคามให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

โรงพยาบาลมหาสารคาม นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์

โรงพยาบาลมหาสารคาม

โรงพยาบาลมหาสารคาม

โรงพยาบาลมหาสารคาม

โรงพยาบาลมหาสารคาม

โรงพยาบาลมหาสารคาม

โรงพยาบาลมหาสารคาม

รพ.มหาสารคาม ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ ในเนื่องในวันฉัตรมงคล

ที่โรงเรียนเทศบาลโพธิ์ศรี ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม แพทย์หญิงจรัญญา จุฬารี รองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมด้วยคณะบุคลากร ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาทำความสะอาดและปรับปรุงภูมิทัศน์ เนื่องในเนื่องในวันฉัตรมงคล โดยมีนายวิวัฒน์ อินทร์ไทยวงศ์ รอง ผวจ.มหาสารคาม เป็นประธานในพิธี มีหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ จิตอาสา 904 จิตอาสาพระราชทานและประชาชน เข้าร่วม
โรงพยาบาลมหาสารคามโรงพยาบาลมหาสารคามโรงพยาบาลมหาสารคามโรงพยาบาลมหาสารคามโรงพยาบาลมหาสารคาม

รพ.มหาสารคาม พัฒนาสมรรถนะบุคากรในการรับบริจาคอวัยวะและดวงตา เขตสุขภาพที่ 7

โรงพยาบาลมหารสารคาม จัดโครงการอบรมวิชาการเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาสมรรถนะบุคากรในการรับบริจาคอวัยวะและดวงตาเขตสุขภาพที่ 7

10 มีนาคม 2566 ที่ห้องประชุมตักสิลา อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมวิชาการเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาสมรรถนะบุคากรในการรับบริจาคอวัยวะและดวงตาเขตสุขภาพที่ 7 โดยมีนายแพทย์เฉลิมพล บุญพรหมธีรกุล รองผู้อำนวยการด้านบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ เป็นผู้กล่าวรายงาน

ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้พัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับแผนพัฒนาระบบสุขภาพ (Service plan) ปีงบประมาณ 2566 ได้อนุมัติโครงการสนับสนุนบริการและวิชาการตามความต้องการของเขตสุขภาพที่ 7 ให้ดำเนินการจัดโครงการ “ การพัฒนาการรับบริจาคอวัยวะ ดวงตา และการปลูกถ่ายอวัยวะ เขตสุขภาพที่ 7” เพื่อเพิ่มศักยภาพบุคลากรในหอผู้ป่วยในการค้นหา คัดกรอง การเจรจาขอรับบริจาคอวัยวะ และดวงตาในโรงพยาบาลมหาสารคามและเครือข่าย เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ในการดูแลผู้บริจาคอวัยวะ การเตรียมผู้ป่วยรอการผ่าตัดเอาอวัยวะออกเพื่อนำไปปลูกถ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ และการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจถึงคุณค่าของการบริจาคอวัยวะและดวงตา ทั้งในโรงพยาบาลมหาสารคาม และเครือข่ายจังหวัดมหาสารคาม เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของ service plan สาขาปลูกถ่ายอวัยวะ

ในการนี้ศูนย์รับบริจาคอวัยวะและดวงตาโรงพยาบาลมหาสารคาม จึงได้จัดทำโครงการอบรมวิชาการเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาสมรรถนะบุคากรในการรับบริจาคอวัยวะและดวงตา ประจำปี 2566 “ สร้างกุศลผู้ให้ สร้างชีวิตใหม่ผู้รับ” โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วย บุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคามที่เกี่ยวข้อง หัวหน้าพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนและผู้ประสานงานบริจาคอวัยวะ บุคลากรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคามจำนวน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกอำเภอ และสมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัดมหาสารคาม จำนวนกว่า 100 คน

รพ.มหาสารคาม จัดกิจกรรมวันการได้ยินโลก ประจำปี 2566

รพ.มหาสารคาม จัดกิจกรรมวันการได้ยินโลก ประจำปี 2566 พร้อมตรวจสุขภาพและให้ความรู้เกี่ยวกับช่องหูที่ถูกต้องประชาชน
ที่ห้องตรวจ หู คอ จมูก อาคารผู้ป่วยนอกชั้น 2 โรงพยาบาลมหาสารคาม นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมการสร้างความรู้ ความเข้าใจ แก่ผู้มารับบริการ เนื่องในวันการได้ยินโลก ประจำปี 2566 โดยมีแพทย์หญิงญาณพันธุ์ ถายา หัวหน้ากลุ่มงานโสต ศอ นาสิก เป็นผู้กล่าวรายงาน
สืบเนื่องจากวันที่ 3 มีนาคมของทุกปี เป็นวันการได้ยินโลก และในสังคมปัจจุบันสิ่งแวดล้อมรอบด้านมีเสียงดังเพิ่มมากขึ้น ทั้งเสียงจากการทำงาน เสียงที่เกิดจากการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่นเสียงเครื่องจักรกลเสียงจากรถยนต์ เสียงจากเครื่องขยายเสียงต่าง ๆ ซึ่งการได้ยินเสียงเป็นเวลานาน ๆ จะส่งผลต่อการได้ยินอาจทำให้เกิดประสาทหูเสื่อมได้ จากสถิติผู้มารับบริการห้องตรวจหู คอ จมูก โรงพยาบาลมหาสารคาม ในห้วงเวลา ๓ ปีย้อนหลัง พบว่าจำนวนผู้มารับบริการมีปัญหาด้านการได้ยินมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี
ดังนั้น กลุ่มงานโสตศอ นาสิก จึงได้จัดทำโครงการวันการได้ยินโลก ประจำปี 2566 เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการได้ยิน และเกณฑ์การได้ใบรับรองความพิการทางการได้ยิน พร้อมตรวจและให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องหูที่ถูกต้อง ให้แก่ผู้มารับบริการห้องตรวจหู คอ จมูก และห้องตรวจใกล้เคียง จำนวน ๑๐๐ คน

จ.มหาสารคาม จัดงาน Kick off ส่งมอบสุขภาพดีให้ผู้สูงอายุ

สสจ.มหาสารคาม ร่วมกับ รพ.มหาสารคาม จัดงาน Kick off ส่งมอบสุขภาพดีให้ผู้สูงอายุ มอบบริการและวัสดุอุปกรณ์เพื่อการดูแลสุขภาพ เพิ่ม “ความสุข” ให้แก่ผู้สูงอายุมหาสารคาม
ที่อาคารผู้ป่วยนอกชั้น 2 โรงพยาบาลมหาสารคาม ดร.นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน Kick off ส่งมอบสุขภาพดีให้ผู้สูงอายุ เพื่อรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงการเป็นสังคมสูงวัย การส่งเสริมทัศนคติที่ดีต่อผู้สูงอายุ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่จะทำงานด้านผู้สูงอายุให้เพียงพอ รวมไปถึงการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุให้ได้รับบริการอย่างเหมาะสม ซึ่งการดำเนินงานเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายมุ่งเน้น เพื่อให้“ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบและทั่วถึง” อันจะเป็นการสนับสนุนให้ ทั้งครอบครัวมีพลังในการดำเนินชีวิต และใช้ความเข้มแข็งทางสุขภาพเป็นต้นทุน ในการสร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจของประเทศ อันจะนำไปสู่เป้าหมาย “ประชาชนแข็งแรง เศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง ประเทศไทยแข็งแรง” เพราะเมื่อผู้สูงอายุได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ลูกหลานในครอบครัว ก็ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง โดยกระทรวงสาธารณสุข หวังเป็นอย่างยิ่งว่า “ของขวัญปีใหม่”ซึ่งมาจากนโยบายที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุนี้ จะส่งเสริมทั้ง “สุขภาพ” และเพิ่ม“ความสุข” ให้แก่คนมหาสารคาม
ทั้งนี้ จากสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2564 ประเทศไทย มีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.8 ของประชากรทั้งประเทศ จังหวัดมหาสารคาม ประชากรผู้สูงอายุตามทะเบียนราษฎร์ (23 มค.66) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้ง เชิงปริมาณและอัตราร้อยละ จะเห็นได้จากปี 2566 จำนวน 195,455 คน ร้อยละ 20.61 ปี 2565 จำนวน 177,793 คน ร้อยละ 18.74 ผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองด้านสุขภาพ ร้อยละ 72.52 พบว่า กลุ่มติดสังคม ร้อยละ 95.60 กลุ่มติดบ้าน ร้อยละ 3.89 กลุ่มติดเตียง ร้อยละ 0.51 และมีภาวะเสี่ยงสูงที่จะเป็นสมองเสื่อม ร้อยละ 0.95 เสี่ยงหกล้มร้อยละ 3.94 โรคพบบ่อยและสำคัญ พบว่ามีความเสี่ยงสูง ที่เป็นโรคหัวใจหลอดเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ร้อยละ13.01, 1.12 และ 6.79 ตามลำดับ ภาวะโภชนาการ พบว่ามีภาวะผอมร้อยละ 11.65 อ้วนและอ้วนอันตราย ร้อยละ 4.83 เป็นปีที่คาดว่าประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์
กระทรวงสาธารณสุขจึงประกาศให้ “ปี 2566 เป็นปีแห่งสุขภาพผู้สูงวัยไทย” และมีนโยบายมอบบริการและวัสดุอุปกรณ์เพื่อการดูแลสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบด้วย 1.การคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในระดับต่างๆ ครอบคลุมผู้สูงอายุกว่า 10 ล้านคน 2.จัดให้โรงพยาบาลทุกระดับของกระทรวงสาธารณสุข มีคลินิกผู้สูงอายุ เพื่อจัดบริการสุขภาพแก่ผู้สูงอายุได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง 3.สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น ต่อการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ได้แก่ แว่นสายตา สำหรับผู้สูงอายุที่มีสายตาสั้นหรือสายตายาว จำนวน 5 แสนราย ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ แผ่นรองซับ และแผ่นเสริมซึมซับการขับถ่าย สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะติดเตียง หรือกลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้ จำนวน 5 ล้านชิ้น ฟันเทียมและรากฟันเทียม สำหรับผู้สูงอายุที่สูญเสียฟัน จำนวน 36,000 ราย

โรงพยาบาลมหาสารคาม จัดกิจกรรมรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจ พรบ. ตามโครงการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาล ประจำปี 2565

(28-12-2565)  นายแพทย์สถาพร ณ ราชสีมา รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบบริการและ สนับสนุนบริการสุขภาพ โรงพยาบาลมหาสารคาม   พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และบุคลากร  ร่วมกันกิจกรรมรณรงค์ขับขี่ปลอตภัย ใส่ใจ พรบ. ตามโครงการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาล ประจำปี 2565  เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยและสร้างจิตสำนึกที่ตีในการใช้รถใช้ถนนสาธารณะร่วมกัน และเพื่อให้บุคคลากรปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน โดยสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งที่ขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ และให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

ซึ่งกิจกรรมประกอบไปด้วย  1 ประกาศนโยบายความปลอดภัยทางถนน

2 กิจกรรมให้ความรู้ด้าน พรบ. โดยบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด .

สาขามหาสารคาม 3 กิจกรรมสาธิต “เมาแล้วขับ” โดยบริษัท โตโยต้ามหาสารคาม จำกัด

4 กิจกรรมร่วมตอบคำถามชิงรางวัล ซึ่งมีบคุลากร และประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม กว่า 100 คน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โรงพยาบาลมหาสารคาม จัดงานวันแพทย์ แห่งประเทศไทย ประจำปี 2565

(28-11-2565)   ที่ห้องประชุมตักสิลา ชั้น 4 อาคารผู้ป่ยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม  นายแพทยืภาคภูมิ  มโนสิทธิศักดิ์  ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมหาสารคาม  เป็นประธานเปิดงานวันแพทย์ แห่งประเทศไทย ประจำปี 2565 เพื่อเชิดชูเกียรติแพทย์ทุกท่านที่ปฏิบัติงานบริการประชาชน ทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งเป็นภารกิจหน้าที่ต้องทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังใจ เพื่อให้ประชาชนให้มีสุขภาวะที่ดี  ซึ่งในงานมีพิธีมอบรางวัลแก่แพทย์ดีเด่นในด้านต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน    ดังนี้

 

  1. แพทย์ดีเด่นด้านบริหาร

นายแพทย์ภาคภูมิ  มโนสิทธิศักดิ์    ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม

  1. แพทย์ดีเด่นด้านเสียสละ

นายแพทย์ประเสริฐ ศรีสารคาม (รับเอง)   รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์

นายแพทย์สถาพร ณ ราชสีมา   รองผู้อำนวยการด้านพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ

  1. แพทย์ดีเด่นด้านขวัญใจมหาชน

นายแพทย์ เฉลิมพล บุญพรหมธีรกุล

  1. แพทย์ดีเด่นด้านวิชาการ/วิจัย

แพทย์หญิงสายพิณ ฤทธิโคตร

  1. แพทย์ดีเด่นด้านคุณธรรม จริยธรรม

แพทย์หญิงอินทิรา อนันต์พินิจวัฒนา

  1. แพทย์ดีเด่นด้านครูแพทย์
  • นายแพทย์ไชยวัฒน์ พาณิชย์
  1. แพทย์ต้นแบบด้านการให้บริการ

-กลุ่มงานอายุรกรรม

โรงพยาบาลมหาสารคาม จัดกิจกรรมรณรงค์วันส้วมโลก   ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕

ที่ บริเวณลานหน้าห้องน้ำสาธารณะหลังอาคาร ๖0 ปี โรงพยาบาลมหาสารคาม นายแพทย์สถาพร ณ ราชสีมา รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมรณรงค์วันส้วมโลก โรงพยาบาลมหาสารคาม ประจำปี ๒๕๖๕ โดยมีคุณกัญตา คำพอ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร เป็นผู้กล่าวรายงาน มีหัวหน้ากลุ่มงาน บุคลากรจากหน่วยงานต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่ดูแลความสะอาด เข้าร่วมจำนวนกว่า 50 คน โดยมีกิจกรรมประกอบด้วยการทำความสะอาดห้องน้ำสาธารณะ การให้ความรู้การดูแลรักษาความสะอาดส้วมเพื่อสุขอนามัย  การล้างมือ การตอบคำถามและมอบของรางวัลเป็นที่ระลึกแก่ผู้มารับบริการโรงพยาบาลมหาสารคาม

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยได้กำหนดหัวข้อรณรงค์ในวันส้วมโลก คือ “ท่องเที่ยวอย่างมั่นใจ ส้วมสาธารณะไทยได้มาตรฐาน” โดยส่งเสริมและมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาส้วมสาธารณะให้ได้ตามมาตรฐาน HAS (H: Health, A: Accessibility, S: Safety) เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อโรค ให้ประชาชนผู้เดินทาง หรือนักท่องเที่ยวได้ใช้บริการห้องส้วมสาธารณะที่สะอาด เพียงพอ และปลอดภัย ในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่มีห้องน้ำสาธารณะ เช่น ห้างสรรพสินค้า สถานีบริการน้ำมัน และโรงพยาบาล เป็นต้น

โรงพยาบาลมหาสารคาม ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีห้องส้วมสาธารณะสำหรับผู้รับบริการหลายแห่งรวมถึงห้องส้วมในหอผู้ป่วย และมีพนักงานทำความสะอาดรับผิดชอบดูแลรักษาครอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ เพื่อสร้างความระหนักแก่ผู้มารับบริการในการใช้ห้องส้วมสาธารณะอย่างถูกต้อง ปลอดภัย และส่งเสริมให้บุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการทำความสะอาด สามารถป้องกันตนเองและลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อโรคได้อย่างถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยของผู้รับบริการ (25-11-65)

 

โรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมพิธี “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” ประจำปี 2565

ที่หอประชุมจังหวัดมหาสารคาม ศูนย์ราชการจังหวัดมหาสารคาม นายแพทย์ประเสริฐ ศรีสารคาม รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม เข้าร่วมในพิธีวางพานพุ่ม ถวายราชสักการะน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ แด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2565 โดยมี นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม นำหัวหน้าข้าราชการ ผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน กล่าวคำสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และร่วมกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี สำหรับโครงการฝนหลวง เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและใช้ในเกษตรกรรมอันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้ง ความผันแปรและคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกายในการคิดค้น วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการทำฝนหลวงจนประสบความสำเร็จ และช่วยให้ประเทศชาติรอดพ้นวิกฤติภัยแล้งมาได้จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อแสดงความรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อปวงชนชาวไทย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเฉลิมพระเกียรติฯ โดยกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง เพื่อให้ประชาชนได้แสดงความจงรักภักดี และร่วมกันถวายสดุดีเฉลิมพระเกียรติฯทุกปี

โรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมกิจกรรม“แสงนำใจ ไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 8 เฉลิมพระเกียรติ จ.มหาสารคาม

(30-10-2565 )  ที่บริเวณแก่งเลิงจาน ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม นายแพทย์ประเสริฐ  ศรีสารคาม  รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์  พร้อมด้วยบุคลากร เ ข้าร่วมงาน “แสงนำใจ ไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 8 เฉลิมพระเกียรติ  “แผ่นดินไทย ไร้สโตรค”

โดยมีนายเกียรติศักดิ์  ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธี นำหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตลอดจนเครือข่ายพันธมิตรโครงการโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ได้กำหนดจัดขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 21-30 ตุลาคม 2565 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ที่ทรงเป็นดั่งแสงนำใจของคนไทยทั้งชาติ ทรงเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนชาวไทยในการรักษาสุขภาพ ส่งเสริมกิจกรรมออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพดีห่างไกลโรค ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่าย การรักษาและลดภาระของปัญหาโรคเรื้อรัง โดยให้ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย และทุกหมู่คณะ มีโอกาสออกกำลังกายอย่างง่ายๆ  เช่น การเดิน วิ่ง หรือปั่นจักรยาน โดยรายได้จากการจำหน่ายชุดแข่งขัน และการบริจาคหลังหักค่าใช้จ่าย ร้อยละ 50 มอบให้แก่มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เพื่อใช้ในการสนับสนุนและส่งเสริมให้โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั้ง 21 แห่งทั่วประเทศ ดูแลสุขภาพประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดารได้อย่างเท่าเทียมกัน และร้อยละ 50 มอบให้เขตสุขภาพและจังหวัดในพื้นที่ที่ร่วมโครงการแสงนำไทยทั้งชาติ ฯ เพื่อนำเงินเข้ากองทุน/มูลนิธิเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง

สำหรับกิจกรรมภายในงาน “แสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาตครั้งที่ 8 เฉลิมพระเกียรติ” จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย 1.)การเดิน วิ่ง ปั่น (Overall) ชาย/หญิง ระยะทาง 10.4 กิโลเมตร (รอบแก่งเลิงจาน) 2.การเดิน วิ่ง ปั่น (Fun Run) ระยะทาง 5.4 กิโลเมตร

ดร.นพ.สมชายโชติ  ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า จากรายงานการศึกษาโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตจาก โรคหลอดเลือดและหัวใจทั่วโลกประมาณ 16.7 ล้านคนต่อปี ในจานวนนี้เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง ประมาณ 5.5 ล้านคน โดยกว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคนี้เกิดในประเทศกำลังพัฒนา ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 1,880 คน ต่อประชากรจำนวนหนึ่งแสนคน หรือร้อยละ 2 ซึ่งถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในเพศหญิงและอันดับสามในเพศชาย รองจากอุบัติเหตุและ โรคมะเร็ง นอกจากนั้น โรคนี้ยังมีอัตราความพิการสูง การศึกษาในประเทศไทยพบว่า ในผู้ป่วย 100 คน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจะเสียชีวิตร้อยละ 5 และพิการร้อยละ 70 ซึ่งนอกจากความพิการทางกายแล้ว ยังมีผลทำให้ความจำเสื่อมในภายหลังอีกด้วย ถ้าประชาชนขาดความรู้ด้านการป้องกันหรือรักษาอย่างถูกวิธี โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ร้อยละ 90 ถ้าสามารถปรับพฤติกรรมเสี่ยงความเสี่ยงได้

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ ขับเคลื่อนโครงการฯผ่านเขตสุขภาพ 13 แห่ง ทั่วประเทศ ในการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ กิจกรรมให้ความรู้โรคหลอดเลือดสมอง และกิจกรรม ออกกำลังกายเดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ในทุก 77 จังหวัด ทั้งประเทศที่มาร่วมจัดงานพร้อมกัน เพื่อเป็นการตอกย้ำความสำคัญของการออกกำลังกายในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง